วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

สถานที่ท่องเที่ยวในภาคเหนือ


 สถานที่ท่องเที่ยวในภาคเหนือ

   
ภาคเหนือเป็นดินแดนที่ร่ำรวยด้วยภูมิประเทศงดงาม รายล้อมด้วยขุนเขาสลับซับซ้อนอันอุดมไปด้วยผืนป่า งดงามด้วยประเพณีวัฒนธรรม และอบอุ่นด้วยวิถีชีวิตเรียบง่ายเปี่ยมน้ำใจสำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางไปท่องเที่ยวในภาคเหนือ เรารวบรวมข้อมูลการเดินทางท่องเที่ยวทุกจังหวัดมาไว้ที่นี่แล้ว เพียงคุณคลิกที่ชื่อจังหวัดซึ่งอยู่ด้านล่างนี้ ก็จะได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นมาของจังหวัด จำนวนประชากร ขนาดพื้นที่และอาณาเขต การเดินทาง ที่พัก สถานที่ที่น่าสนใจ อาหารและเครื่องดื่ม กิจกรรมที่น่าสนใจ งานเทศกาลและประเพณีที่สำคัญ ทัวร์และแพ็กเกจทัวร์ ข้อเสนอพิเศษ ช็อปปิ้ง อย่างครบครัน แม้แต่สถานที่ท่องเที่ยวในภาคเหนือก็ยังสร้างควมเป็นเอกลักษณ์ถึงความอุดมไปด้วย แหล่งธรรมชาติที่ยังคงความเขียวขจีในพื้นที่บริเวณนั้นๆ

 พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์
ตั้งอยู่บนดอยบวกห้า ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง ใช้เส้นทางเดียวกันกับพระธาตุดอยสุเทพ พระตำหนักฯอยู่เลยจากวัดพระธาตุดอยสุเทพ เป็นระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร พระตำหนักภูพิงค์ฯ เป็นพระตำหนักประทับในวโรกาสที่เสด็จแปรพระราชฐานมาประทับแรมที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อทรงเยี่ยมเยียนราษฎรในเขตภาคเหนือ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ใช้เป็นที่รับรองพระราชอาคันตุกะที่เสด็จฯเยือนประเทศไทยซึ่งแต่เดิมจะประทับรับรองแต่ในพระนครหลวงเท่านั้น โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2504 ในครั้งแรกได้ก่อสร้างเฉพาะองค์พระตำหนักที่ประทับและเรือนรับรองเท่านั้น ส่วนอาคารอื่นๆได้มีการก่อสร้างเพิ่มเติมต่อมาในภายหลัง   ภายในพระตำหนักฯ มีสถานที่น่าชม ดังนี้ เรือนปีกไม้  พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ เรือนรับรอง พลับพลาผาหมอนและสวนเฟิร์น  อ่างเก็บน้ำ พระตำหนักต่างๆ และหอพระ โดยระหว่างเส้นทางเยี่ยมชมจะผ่านสวนกุหลาบเป็นระยะ
          โดยปกติแล้วจะเปิดให้ประชาชนเข้าชมทุกวัน แต่ทั้งนี้จะงดการเข้าชมพระตำหนักฯ ระหว่างเสด็จแปรพระราชฐาน  (ประมาณเดือนมกราคมถึงต้นเดือนมีนาคม)   จำหน่ายบัตรทุกวัน เวลา 8.30-11.30 และ 13.00-15.30 น. ค่าเข้าชม คนไทย : ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท ชาวต่างชาติ 50 บาท (กรุณาแต่งกายสุภาพ) และมีบริการรถไฟฟ้านำชม ค่าบริการ 300 บาท/คัน(ไม่เกิน 3 ท่าน)

อุทยานหลวงราชพฤกษ์
อุทยานหลวงราชพฤกษ์  หรือชื่อเดิมว่า สวนเฉลิมพระเกียรติ ราชพฤกษ์ จัดสร้างขึ้นเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 พรรษาในวันที่ 9 มิถุนายน 2549 และทรงเจริญพระชนมายุครบ 80 พรรษาในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ศูนย์กลางการเรียนรู้พืชสวนโลก มีการจัดแสดงพันธุ์ไม้หลากหลายชนิด การจัดแสดงนิทรรศการด้านการเกษตรและอื่น ๆ เพื่อการเรียนรู้สำหรับเยาวชนและประชาชนทั่วไป เพื่อการศึกษางานวิจัย และเป็นแหล่งพบปะกันในกลุ่มเกษตรกร ภายในพื้นที่มีการจัดภูมิสถาปัตย์อย่างสวยงาม
สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ที่เปิดให้เข้าชม ได้แก่
     - ต้นสนดึกดำบรรพ์อายุกว่า 250 ล้านปี บริเวณประตูทางเข้า
     - หอคำหลวง
     - สวนองค์กรเฉลิมพระเกียรติ เป็นส่วนที่ทางองค์กรต่าง ๆ ได้มาจัดแสดงภายใต้แนวคิดการจัดสวนตามทฤษฎีการเกษตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
     - สวนนานาชาติ พื้นที่การจัดสวนจากประเทศต่างๆ 33 ประเทศ
     - พื้นที่ชมภายในอาคาร ได้แก่ เรือนร่มไท้ โดมไม้เขตร้อนชื้น อาคารพืชทะเลทราย อาคารพืชไร้ดิน อาคารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
     - พื้นที่ชมงานภายนอกอาคาร ได้แก่ ไม้ชุ่มน้ำ สวนบัว ไม้ประจำจังหวัด ไม้มงคล และไม้พุทธประวัติ ไม้ดัด และอาคารหอประวัติพืชสวนไทย
     สถานที่ที่จะเปิดให้ชมเพิ่มในช่วงฤดูหนาว ได้แก่ อาคารพืชไม้เมืองหนาว
     ภายในมีรถรางบริการ ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท ผู้เข้าชมเป็นหมู่คณะควรแจ้งให้ทราบล่วงหน้า (มีวิทยากรบรรยาย) เปิดให้เข้าชมทุกวันเว้นวันจันทร์ ตั้งแต่เวลา 10.00 - 18.00 น. โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย


สวนสัตว์เชียงใหม่
ตั้งอยู่ที่ถนนห้วยแก้ว ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 5 กิโลเมตร ใกล้กับสวนรุกขชาติ เป็นสวนสัตว์ขนาดใหญ่มีสัตว์มากมายหลายชนิด ทั้งที่มีอยู่ในเมืองไทยและนำมาจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก มีหมีแพนด้า ฑูตสันถวไมตรีเชื่อมความสัมพันธ์ไทย-จีน หมีโคอาล่าจากออสเตรเลีย เชียงใหม่ ซู อควาเรียม ศูนย์แสดงสัตว์น้ำมีอุโมงค์ยาว 133 เมตร สวนนกเพนกวินและสวนนกฟิ้นช์ ซึ่งเป็นนกขนาดเล็ก มีสีสันสวยงามจนได้รับการขนานนามว่าเป็น อัญมณีบินได้ มีรถไฟฟ้ารางเดี่ยวพร้อมระบบปรับอากาศ บริการรับผู้โดยสารได้ครั้งละ 50-70 คน/ เที่ยว ระยะทางวิ่ง 2 กิโลเมตร จอดรับส่งผู้โดยสาร 4 สถานี เปิดทุกวัน เวลา 8.00-18.00 น. เปิดขายบัตรถึงเวลา 17.00 น. นอกจากนั้นยังมี ทัวร์ชมสัตว์ป่ายามค่ำคืน Twilight Zooโดยรถยนต์นำชมพฤติกรรมสัตว์ต่าง ๆ ที่ออกหากินยามกลางคืน พร้อมวิทยากรบรรยายให้ความรู้ ตั้งแต่เวลา 18.30-21.00 น.


เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี
เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ดำเนินการภายใต้องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน )ตั้งอยู่ในพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ในพื้นที่ตำบลแม่เหียะ  ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง และตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมือง ประมาณ 10 กิโลเมตร

ส่วนแสดงสัตว์ในโครงการเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ประกอบด้วย
-Jaguar Trail นักท่องเที่ยวสามารถเดินพักผ่อนได้ตามอัธยาศัยรอบทะเลสาบ (Swan Lake) ระยะทาง 1.2 กม. โดยมีจุดเริ่มต้นจากอาคารลานนาวิลเลจด้านร้านอาหาร และสิ้นสุดที่ทางออกใกล้เรือนวารีกุญชร ตลอดระยะทางจะพบกับสัตว์ป่ามากกว่า 400 ตัว หรือ 50 ชนิด อาทิเช่น เสือขาว เสือจากัวร์ หนูยักษ์คาปิลาลา เสือลายเมฆ สมเสร็จบราซิล ม้าแคระ ฮิปโปแคระ ลิงอุรังอุตัง เสือดำ ลิงกระรอก หมีโคอาล่า แมวดาว นกกระเรียนหงอนพู่ นากใหญ่ขนเรียบ ลามา นกคลาสโซโนวี่ เสือปลา ฯลฯ
-Predator Prowl ส่วนแสดงสัตว์ป่าประเภทสัตว์กินเนื้อ ประมาณ 200 ตัว นักท่องเที่ยวจะสัมผัสความตื้นเต้นกับสัตว์นักล่าที่มึความดุร้ายโดยรถ Tram ขนาด 60 ที่นั่ง ตามระยะทาง 2.13 กม. อาทิเช่น เสือโคร่งขาว เสือโคร่งอินโดจีน เสือโคร่งเบงกอล สิงโต หมาป่าแอฟริกา หมีควาย หมีหมา กวางเจมส์บ็อค กวางไนยาร่า กวางขาวสปริงบ็อค กวางดำสปริงบ็อค หมาจิ้งจอก อูฐสองโหนก ฯลฯ
-Savanna Safari ส่วนแสดงสัตว์ป่าประเภทสัตว์กีบและสัตว์กินพืชที่มีถิ่นอาศัยในแถบทุ่งหญ้าซาวันนา ประมาณ 320 ตัว นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสสัตว์อย่างใกล้ชิด โดยรถ Tram ขนาด 60 ที่นั่ง ตามระยะทาง 2.43 กม. อาทิเช่น เลียงผา กวางผา กระทิง แรดขาว ไฮยีน่า เสือชีต้า วีลด์เดอบีส ยีราฟ จามรี ละอง ละมั่ง กวางกาเซลล์ หมูป่า กวางบาราสิงกา ฯลฯ โดยระหว่างทางนักท่องเที่ยวจะพบกับสถาปัตยกรรมจำลองเวียงกุมกาม ซึ่งสะท้อนถึงส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่

-และในพื้นที่บริการจะเป็นหมู่บ้านล้านนา ซึ่งเป็นอาคารที่มีสถาปัตยกรรมก่อสร้างที่ผสมผสานระหว่างรูปแบบแอฟริกาและไทยลานนา ซึ่งประกอบด้วย ศูนย์อาหาร ศูนย์รวมสินค้า OTOP ของที่ระลึก และเป็นถานีรับ-ส่งนักท่องเที่ยวไปยังส่วนแสดงสัตว์ และด้านข้างอาคารยังมีลานน้ำพุดนตรี (Fun Plaza) สำหรับเด็กๆ ได้เล่นน้ำขณะรอขึ้นรถ

อัตราค่าเข้าชม
กลางวัน
 ชาวไทย              ชาวต่างชาติ
 เด็ก     25            เด็ก     50
 ผู้ใหญ่  50            ผู้ใหญ่  100

 กลางคืน
 ชาวไทย              ชาวต่างชาติ
 เด็ก     125          เด็ก     300
 ผู้ใหญ่  250          ผู้ใหญ่  500

เวลาเข้าชม
ช่วงกลางวัน
 จันทร์-ศุกร์ 13.00-16.00
 เสาร์-อาทิตย์ 10.00-16.00
ช่วงกลางคืน
 ทุกวัน 18.00-24.00

หมายเหตุ
- เข้าฟรี : สำหรับเด็กที่มีความสูงไม่เกิน 100 ซม.
- รถลากพ่วง : ให้บริการระหว่างเวลา 19.00-22.30 น.

การเดินทาง จากเมืองเชียงใหม่ไปตามถนนห้วยแก้ว เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 121 ไปอำเภอหางดง ประมาณ 10 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาไปประมาณ 2 กิโลเมตร จะถึงเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี 


สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
      สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลแม่แรม อำเภอแม่ริม บริเวณชายเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ทางเข้าอยู่ด้านซ้ายมือบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 12 สายแม่ริม-สะเมิง สวนพฤกษศาสตร์แห่งนี้ก่อตั้งเมื่อปี 2536 มีพื้นที่ประมาณ 6,500 ไร่  สภาพโดยทั่วไปเป็นที่ราบและที่สูงสลับกันเป็นชั้นๆ ในระดับ 300-970 เมตร จัดทำเป็นสวนพฤกษศาสตร์ระดับนานาชาติ เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ลักษณะการจัดสวนของที่นี่จะแบ่งพันธุ์ไม้ตามวงศ์และความเหมาะสมของสภาพพื้นที่ รวบรวมพันธุ์ไม้ทั้งในและต่างประเทศ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาเกี่ยวกับพันธุ์ไม้ สามารถขับรถเที่ยวชมได้
      จุดที่แวะชมได้ คือ 1. อาคารศูนย์สารนิเทศ เป็นสถานที่อำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยว รวมถึงเป็นสถานที่จัดนิทรรศการ 2.กลุ่มอาคารเรือนกระจกเฉลิมพระเกียรติ ขนาดต่างๆ 12 โรงเรือน รวบรวมพรรณไม้ประเภทต่างๆจากทั่วประเทศมาปลูกแสดงไว้ในโรงเรือน เช่น ไม้ป่าดงดิบ ไม้น้ำ กล้วยไม้ ไม้แล้ง บัว ไม้ดอกไม้ประดับ บอน ไม้ไทยหายาก ไม้สกุลสัมกุ้ง สมุนไพร 3.ศูนย์วิจัยพัฒนาสง่า สรรพศรี เป็นศูนย์ข้อมูลวิชาการโดยมีนักพฤกษศาสตร์ประจำอยู่ตลอดเวลา 4. เรือนพรรณกล้วยไม้ไทย 5.โรงเรือนอนุบาลพรรณไม้ 6.อ่างเก็บน้ำแม่สาวารินทร์ 7.แปลงรวมพันธุ์ไม้ดอกขาว ซึ่งได้จัดปลูกไปแล้วกว่า 120 ชนิด
และมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่จัดไว้ 4 เส้น คือ 1.เส้นทางน้ำตกแม่สาน้อย-สวนหิน-เรือนรวมพันธุ์กล้วยไม้ไทย (Waterfall Trail) ระยะทาง 300 เมตร 2.เส้นทางสวนรุกชาติ (Arboretum Trail) ระยะทาง 600 เมตร 3. เส้นทางวลัยชาติ (Climber Trail) ระยะทาง 2 กม. 4. เส้นทางพันธุ์ไม้ประจำจังหวัด ระยะทาง 800 เมตร
      เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 8.30-16.00 น. ค่าธรรมเนียม ผู้ใหญ่ 40 บาท เด็ก 10 บาท รถรวมทั้งคนขับ 100 บาท


ดอยอ่างขาง

      ตั้งอยู่ที่ตำบลอ่างขาง อำเภอฝาง ห่างจากเขตแดนไทยพม่าเพียง 5 กิโลเมตร การเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 107 สายเชียงใหม่-ฝาง ประมาณกิโลเมตรที่ 137 จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าบ้านยางที่ตลาดแม่ข่า เข้าไปอีกประมาณ 25 กิโลเมตร เป็นทางลาดยาง สูงและคดเคี้ยว ต้องใช้รถสภาพดีและมีกำลังสูง คนขับชำนาญ หรือจะหาเช่ารถสองแถวได้ที่ตลาดแม่ข่า

     อ่างขาง เป็นภาษาเหนือ หมายถึง อ่างสี่เหลี่ยม ซึ่งได้ชื่อมาจากลักษณะพื้นที่เป็นแอ่งกระทะ ล้อมรอบด้วยภูเขาสูง อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,400 เมตร ทำให้อากาศบนดอยหนาวเย็นตลอดปีโดยเฉพาะในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม อากาศเย็นจนน้ำค้างกลายเป็นน้ำค้างแข็ง นักท่องเที่ยวจึงควรเตรียมเครื่องกันหนาวมาให้พร้อม เช่น หมวก ถุงมือ ถุงเท้า เสื้อกันหนาว

      สถานที่น่าสนใจบนดอยมีหลายแห่ง ได้แก่
สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง เป็นสถานีวิจัยแห่งแรกของโครงการหลวง เรื่องกำเนิดของสถานีฯ แห่งนี้เป็นเกร็ดประวัติเล่ากันต่อมาว่าครั้งหนึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จทางเฮลิคอปเตอร์ผ่านยอดดอยแห่งนี้และทอดพระเนตรลงมาเห็นหลังคาบ้านคนอยู่กันเป็นหมู่บ้าน จึงมีพระดำรัสสั่งให้เครื่องลงจอด เมื่อเสด็จพระราชดำเนินลงมาทอดพระเนตรเห็นทุ่งดอกฝิ่น และหมู่บ้านตรงนั้นก็คือหมู่บ้านของชาวเขาเผ่ามูเซอซึ่งในสมัยนั้นยังไว้แกละถักเปียยาว แต่งกายสีดำ สะพายดาบ พระองค์มีพระราชดำรัสที่จะแปลงทุ่งฝิ่นให้เป็นแปลงเกษตร  สถานีฯ จึงเกิดขึ้นเมื่อพ.ศ. 2512มีโครงการวิจัยผลไม้ ไม้ดอกเมืองหนาว งานสาธิตพืชไร่ พืชน้ำมัน โดยมุ่งที่จะหาผลิตผลที่มีคุณค่าพอที่จะทดแทนการปลูกฝิ่นของชาวเขา และทำการส่งเสริมพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมแก่ชาวเขาในบริเวณใกล้เคียง

พรรณไม้ที่ปลูก
- ไม้ผล เช่น บ๊วย ท้อ พลัม แอปเปิล สาลี่ พลับ กีวี องุ่น ราสป์เบอร์รี กาแฟพันธุ์อาราบิกา นัตพันธุ์ต่างๆ
- ไม้ดอก เช่น แกลดิโอลัส เยอบีราพันธุ์ยุโรป สแตติส ยิบโซฟิลลา คาร์เนชั่น อัลสโตรมีเรีย ลิลี ไอริส แดฟโฟดิล
- ผัก เช่น ซูกินี เบบีแครอต กระเทียมต้น หอมญี่ปุ่น ผักกาดฝรั่ง แรดิช เฟนเนล มันฝรั่ง ถั่วแดงหลวง และถั่วพันธุ์อื่นๆ
ในพื้นที่ดอยอ่างขางยังมีการฟื้นฟูสภาพป่าโดยตรง ด้วยการปลูกป่าด้วยพรรณไม้หลายชนิด ละการทิ้งพื้นที่แนวป่าให้พรณไม้เกิดและเติบโตเองโดยธรรมชาติ มีทั้งพรรณไม้ท้องถิ่น เช่น ไม้ไผ่ ไม้ก่อ แอปเปิลป่า นางพญาเสือโคร่ง หรือซากุระ และพรรณไม้โตเร็วจากไต้หวัน 5 ชนิด คือ กระถินดอย เมเปิลหอม การบูร จันทน์ทอง และเพาโลเนีย
ที่สถานีฯ ยังเป็นแหล่งเที่ยวชมวัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้านชาวไทยภูเขาต่างๆ ได้แก่ เผ่ามูเซอดำ ปะหล่อง และจีนฮ่อ รวมทั้งชมความงามตามธรรมชาติของผืนป่า กิจกรรมดูนกซึ่งมีนกทังนกประจำถิ่นและนกหายากต่างถิ่น พร้อมผลิตภัณฑ์จากงานวิจัย งานส่งเสริมเกษตรกรจำหน่ายใต้ตราสินค้า "ดอยคำ" และที่พักทั้งในรูปแบบรีสอร์ท บ้านพักแบบกระท่อมและลานกางเต็นท์พร้อมอาหารและเครื่องดื่มบริการ
สวนบอนไซ อยู่ในบริเวณสถานีฯ เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์ไม้เขตอบอุ่นและเขตหนาวทั้งในและต่างประเทศ ปลูก ดัด แต่ง โดยใช้เทคนิคบอนไซ สวยงามน่าชม และในบริเวณเดียวกันยังมีสวนสมุนไพร ฤดูท่องเที่ยวอยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคม
หมู่บ้านคุ้ม ตั้งอยู่ใกล้กับสถานีฯ เป็นชุมชนเล็ก ๆประกอบด้วยผู้อยู่อาศัยหลายเชื้อชาติอยู่รวมกัน  อาทิชาวไทยใหญ่ ชาวพม่าและชาวจีนฮ่อ ซึ่งได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนี้และเปิดร้านค้าบริการแก่นักท่องเที่ยว
     จุดชมวิวกิ่วลม อยู่ทางด้านซ้ายมือก่อนถึงทางแยกซึ่งจะไปหมู่บ้านปะหล่องนอแลทางหนึ่ง และบ้านมูเซอขอบด้งทางหนึ่ง สามารถชมทะเลหมอกและวิวพระอาทิตย์ทั้งขึ้นและตก มองเห็นทิวเขารอบด้านและหากฟ้าเปิดจะมองเห็นสถานีเกษตรหลวงอ่างขางด้วย
หมู่บ้านนอแล ตั้งอยู่บริเวณชายแดนไทย-พม่า คนที่นี่เป็นชาวเขาเผ่าปะหล่องเชื้อสายพม่า แต่เดิมคนกลุ่มนี้อยู่ในพม่าและพึ่งอพยพมา  มีภาษาและวัฒนธรรมเป็นของตนเอง นับถือศาสนาพุทธ ทุกวันพระผู้คนที่นี่หยุดอยู่บ้านถือศีล จากหมู่บ้านนี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์สวยงามของธรรมชาติบริเวณพรมแดนไทย-พม่า
หมู่บ้านขอบด้ง เป็นที่ที่ชาวเขาเผ่ามูเซอดำและเผ่ามูเซอแดงอาศัยอยู่ร่วมกัน คนที่นี่นับถือผี มีวัฒนธรรมและความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย หมู่บ้านแห่งนี้ได้รับการส่งเสริมจากโครงการหลวงในด้านการเกษตรและด้านหัตถกรรมพื้นบ้าน (เช่น อาบูแค เป็นกำไลถักด้วยหญ้าไข่เหามีสีสันและลวดลายในแบบของมูเซอ) บริเวณหน้าหมู่บ้านจะมีการจำลองบ้านและวิถีชีวิตของชาวมูเซอ โดยชาวบ้าน ครู และนักเรียนโรงเรียนบ้านขอบด้งช่วยกันสร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้ที่สนใจได้มีโอกาสเรียนรู้และศึกษาวัฒนธรรมของหมู่บ้านโดยที่ไม่เข้าไปรบกวนความเป็นส่วนตัวของเขามากเกินไป  และยังมีโครงการมัคคุเทศก์น้อยที่อบรมเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านขอบด้งเพื่อช่วยอธิบายวิถีชีวิตของพวกเขาให้ผู้มาเยือน ทั้งนี้เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกและสร้างความรักในท้องถิ่นให้เด็ก ๆ ด้วย
     หมู่บ้านหลวง ชาวหมู่บ้านหลวงเป็นชาวจีนยูนานที่อพยพมาจากประเทศจีนในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2  และประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรมเป็นหลัก อาทิ ปลูกผักผลไม้ เช่น พลัม ลูกท้อ และสาลี่
     กิจกรรมท่องเที่ยวบนดอยอ่างขาง มีหลายอย่างที่สามารถทำได้เช่น เดินเท้าศึกษาธรรมชาติ ขี่ล่อล่องไพร เป็นต้น


อุทยานแห่งชาติออบหลวง
        ออบหลวงเป็นสถานที่น่าเที่ยวที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ความสวยงามและน่ากลัวไว้ในจุดเดียวกัน กล่าวคือ เบื้องล่างเป็นแม่น้ำที่ไหลคดเคี้ยวผ่านช่องเขาขาดตรงออบหลวง ช่องเขานี้มีลักษณะเป็นหน้าผาสูงชันและแคบมาก บีบทางน้ำไหล ดังนั้น แม่น้ำตรงนี้จึงเชี่ยวจัด เสียงน้ำกระทบหน้าผาดังสนั่น รอบๆ บริเวณชายน้ำด้านเหนืองดงามไปด้วยหมู่ไม้น้อยใหญ่ ร่มรื่นอยู่ตลอดเวลาชั่วนาตาปี นอกจากนี้ยังมีสะพานเชื่อมช่องเขาขาดสำหรับนักท่องเที่ยวยืนชมความงดงามของทัศนียภาพออบหลวง และภายในบริเวณอุทยานฯ มีการขุดค้นพบแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ด้วย เช่น หลุมฝังศพของมนุษย์โบราณ และภาพเขียนสีขาวที่บริเวณเพิงผาช้าง และยังมีกิจกรรมเดินป่าศึกษาธรรมชาติ ล่องแก่งเรือยางหรือ ล่องคายัคในลำน้ำแจ่ม

การเดินทาง
รถยนต์ส่วนตัว -จากตัวเมืองเชียงใหม่ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข108 สายเชียงใหม่-ฮอด-แม่สะเรียง เมื่อถึงอำเภอฮอดให้เลี้ยวขวาบริเวณวงเวียนไปตามถนนหมายเลข 108 ไปอีกประมาณ 17 กิโลเมตร รวมระยะทางประมาณ 105 กิโลเมตร สภาพทางลาดยางตลอด และช่วงระหว่างฮอดจนถึงออบหลวงนั้น ถนนจะเลียบขนานไปกับแม่น้ำแม่แจ่มหรือแม่น้ำสลักหิน และวกไปเวียนมาตามไหล่เขา

      รถโดยสารประจำทาง -ใช้รถโดยสารประจำทางได้หลายสายเช่น เชียงใหม่-ฮอด-อมก๋อย หรือ กรุงเทพฯ-จอมทอง หรือ กรุงเทพฯ-แม่สะเรียง-แม่ฮ่องสอน จากนั้นต่อรถสองแถวที่หน้าอำเภอฮอดอีก 17 กิโลเมตร หรือนั่งรถสายเชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน  ซึ่งจะผ่านที่ทำการอุทยานแห่งชาติออบหลวง  บริเวณท่ารถตรงวงเวียนฮอด-แม่สะเรียง จะมีรถวิ่งทั้งหมด 3 เส้นทาง คือ ฮอด แม่สะเรียง ฮอด-แม่แจ่ม ฮอด-อมก๋อย ซึ่งจะผ่านออบหลวงทั้งสามสาย
      ค่าธรรมเนียมเข้าอุทยานแห่งชาติออบหลวง คนไทย ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท ต่างชาติ ผู้ใหญ่ 200 บาท เด็ก 100 บาท


วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร
       วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร ตั้งอยู่ที่หมู่ 2 ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จากตัวเมืองเชียงใหม่มุ่งหน้าไปตามถนนสายเชียงใหม่-ฮอด 58 กิโลเมตร เป็นวัดสำคัญคู่เมืองจอมทองและเป็นที่เคารพสักการะของชาวเหนือโดยทั่วไป บริเวณที่ตั้งเป็นเนินดินสูงประมาณ 10 เมตร เรียกว่า ดอยศรีจอมทอง หรือดอยจอมทอง ประเพณีเด่นของวัดคือ การแห่ไม้ค้ำโพธิ์ ซึ่งเป็นประเพณีของชาวล้านนาที่ถือว่าการเอาไม้มาค้ำโพธิ์เป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนา


อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง
อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง  ตั้งอยู่บนเทือกเขาถนนธงชัย มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอปายจังหวัดแม่ฮ่องสอน รวมเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 179.5 ตารางกิโลเมตร หรือ 112,187.5 ไร่ ลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาและภูเขาสูงสลับซับซ้อน ภูเขาที่สูงที่สุด คือ ดอยช้าง เป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีลำห้วยน้อยใหญ่มากมาย  ฤดูหนาวอากาศเย็น ลมแรง มีฝนตกชุกในเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ฤดูร้อนอากาศเย็นสบาย อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 34 องศาเซลเซียส
สถานที่ที่มีผู้นิยมมาท่องเที่ยว ได้แก่ 
จุดชมวิวบริเวณห้วยน้ำดัง (ดอยกิ่วลม) ตำบลกึ๊ดช้าง อำเภอแม่แตง อยู่บริเวณที่ทำการอุทยาน เป็นจุดชมวิวที่สวยงามและมีชื่อเสียงมาก มองเห็นดอยเชียงดาว คอยชมพระอาทิตย์ขึ้นและชมทะเลหมอกในช่วงเช้าตรู่ได้  และในช่วงปลายฤดูหนาวดอกไม้กำลังบานสวยงามมาก
    
หมอกที่เกิดที่นี่คือ หมอกที่เกิดขึ้นในหุบเขา (Radiation Fog) เนื่องจากเวลากลางคืนในหุบเขาอุณหภูมิจะลดต่ำลง ทำให้เกิดการกลั่นตัวเป็นละอองน้ำ และปรากฏเป็นทะเลหมอกในเวลาเช้าหรือหลังฝนตก

ใกล้ ๆ กับที่ทำการจะมี เส้นทางศึกษาธรรมชาติเอื้องเงิน มีระยะทาง 1,470 เมตร ความลาดชันปานกลาง ใช้เวลาในการเดินประมาณ 1 ชั่วโมง
     
การเดินทาง ไปยังอุทยานฯ จากตัวเมืองเชียงใหม่ไปตามทางหลวงหมายเลข 107 สายเชียงใหม่-ฝาง ระยะทางประมาณ 37 กิโลเมตร ถึงตลาดแม่มาลัย อ.แม่แตง แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 1095 สายเชียงใหม่-ปาย อีกประมาณ 65 กิโลเมตร ถึงด่านตรวจอุทยานฯ ซึ่งอยู่ด้านขวามือเข้าไปอีก 6 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานฯ และหากเดินทางต่อไปอีก 1 กิโลเมตร ถึงศูนย์บริการนักท่องเที่ยว  หรือเดินทางโดยรถประจำทางจากสถานีขนส่งเชียงใหม่ สายเชียงใหม่-ปาย อัตราค่าโดยสาร 40 บาท/คน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง
    
ห้วยน้ำรู หรือ ดอยสามหมื่น ตำบลเมืองคอง อำเภอเชียงดาว  มีหมู่บ้านชาวเขาเผ่าลีซอ ทัศนียภาพสวยงาม และชมการปลูกกาแฟและไม้ผลเมืองหนาว

การเดินทาง ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ ประมาณ 130 กิโลเมตร ใช้ถนนสายเชียงใหม่-ห้วยน้ำดัง และเลยเข้าไปทางห้วยน้ำดังอีก 20 กิโลเมตร ทางยังไม่ลาดยางใช้ได้เฉพาะฤดูแล้งเท่านั้น ใช้เวลาเดินทางประมาณ 4 ชั่วโมง มีบ้านพักแต่ต้องจองล่วงหน้าอย่างน้อย 2 เดือน ที่ส่วนอนุรักษ์ต้นน้ำ บางเขน  กรุงเทพฯ โทร. 0 2579 7586-7
    
นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ ที่อยู่ในเขตอุทยานฯ ได้แก่ น้ำตกห้วยน้ำดัง โป่งน้ำร้อนท่าปาย  น้ำตกแม่เย็น

ค่าธรรมเนียมเข้าอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง คนไทย ผู้ใหญ่ 40 บาท เด็ก 20 บาท ต่างชาติ ผู้ใหญ่ 200 บาท เด็ก 100 บาท

วัดพระสิงห์วรวิหาร
อยู่ถนนสามล้าน ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เป็นวัดสำคัญในประวัติศาสตร์แห่งแผ่นดินล้านนามานับแต่อดีต พญาผายูกษัตริย์องค์ที่ 5 ในราชวงศ์มังรายโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดนี้ขึ้น ในปีพ.ศ. 1888 พร้อมทั้งสร้างพระเจดีย์สูง 24 ศอกองค์หนึ่ง เพื่อใช้เป็นที่บรรจุอัฐิของพญาคำฟู พระราชบิดา มีพระพุทธรูปที่สำคัญอยู่องค์หนึ่งคือพระพุทธสิหิงค์เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขัดสมาธิเพชร
ตามประวัติของพระพุทธสิหิงส์นั้นเล่าไว้ว่า พระเจ้าแสนเมืองมา กษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์เม็งราย ผู้ครองนครเชียงใหม่ ทรงโปรดให้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาจากเมืองเชียงรายเพื่อไปประดิษฐานไว้ยังวัดสวนดอก แต่พอราชรถมาถึงวัดลีเชียง ก็ปรากฎว่าติดขัดไม่สามารถเดินทางต่อไปได้อีก ดังนั้นพระเจ้าแสนเมืองมาจึงให้ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ไว้ที่วัดลีเชียงนี้ ประชาชนนิยมเรียกพระพุทธสิงหิงค์สั้น ๆ ว่า พระสิงห์ จึงได้เรียกชื่อวัดพระสิงห์

เมื่อถึงเทศกาลสงกรานต์ชาวเมืองจะอัญเชิญพระพุทธรูปองค์นี้แห่ไปตามถนนรอบเมืองเพื่อให้ประชาชนสรงน้ำโดยทั่วกัน ในวิหารลายคำซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ยังมีจิตรกรรมฝาผนังเรื่องสุพรรณหงส์ และสังข์ทองซึ่งพบเพียงที่นี่แห่งเดียว ยังมีศิลปกรรมอื่นๆ ที่น่าชม ได้แก่ พระอุโบสถตกแต่งแบบศิลปะล้านนา หอไตรประดับด้วยรูปปูนปั้นเทวดา และเจดีย์ทรงกลมแบบล้านนา
ความเชื่อและวิธีการบูชา พระธาตุเจดีย์วัดพระสิงห์ถือเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีมะโรง (งูใหญ่) หากได้มานมัสการอย่างน้อยสักครั้งหนึ่งแล้ว จะเป็นมงคลสูงสุดทำให้อายุมั่นขวัญยืน มีความเจริญรุ่งเรืองตลอดไป


วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร
       เดินทางตามถนนห้วยแก้ว ผ่านอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย ไปตามทางคดเคี้ยวขึ้นเขา ระหว่างทางจะมองเห็นตัวเมืองเชียงใหม่อยู่เบื้องล่าง ระยะทางจากเชิงดอยถึงวัดประมาณ 11 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมง วัดพระธาตุดอยสุเทพนี้เป็นปูชนียสถานคู่เมืองเชียงใหม่นับตั้งแต่โบราณกาล นักท่องเที่ยวซึ่งเดินทางมาที่จังหวัดนี้จะต้องขึ้นไปนมัสการพระบรมธาตุกันทุกคน ถ้าหากใครไม่ได้ขึ้นไปนมัสการแล้ว ถือเสมือนว่ายังมาไม่ถึงเชียงใหม่
       ตามประวัติแห่งดอยสุเทพนั้นเชื่อกันว่า เดิมภูเขาแห่งนี้เป็นที่อยู่ของฤาษีนามว่า "สุเทวะ" ซึ่งตรงกับคำว่าสุเทพอันเป็นที่มาของชื่อดอยสูงแห่งนี้ โดยวัดพระธาตุดอยสุเทพนี้สร้างขึ้นเมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ในสมัยพระเจ้ากือนาธรรมิกราช เจ้าหลวงเมืองเชียงใหม่องค์ที่ 6 เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่ได้ทรงอัญเชิญมาจากเมืองศรีสัชนาลัยตามตำนานเล่าว่า พระเจ้ากือนาธรรมิกราชทรงแยกพระบรมสารีริกธาตุไว้เป็นสองส่วน โดยอัญเชิญองค์หนึ่งบรรจุไว้ที่พระธาตุวัดสวนดอก ส่วนอีกองค์หนึ่งได้อัญเชิญขึ้นบนหลังช้างมงคล โดยพระเจ้ากือนาธรรมิกราชทรงตั้งจิตอธิษฐานเสี่ยงทายว่าหากช้างเชือกนั้นหยุดลงตรงที่ใดก็จะให้สร้างพระธาตุขึ้น ณ ที่แห่งนั้น ซึ่งช้างเชือกดังกล่าวได้มาหยุดลงตรงยอดดอยสุเทพแห่งนี้ โดยทำทักษิณาวรรตสามรอบก่อนที่จะล้มลง (ตาย) ดังนั้นพระเจ้ากือนาธรรมิกราชจึงทรงรับสั่งให้สร้างพระบรมธาตุอันเป็นที่ประดิษฐานองค์พระบรมสารีริกธาตุ ณ ยอดดอยสุเทพ อยู่คู่ฟ้าคู่ดินเชียงใหม่มานับแต่นั้น วัดพระธาตุดอยสุเทพตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองเชียงใหม่ ผู้ที่เดินทางมาสักการะที่วัดแห่งนี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์เมืองเชียงใหม่ได้อย่างชัดเจน นักท่องเที่ยวสามารถเดินขึ้นบันไดนาคไป 300 ขั้น เพื่อไปยังวัด หรือใช้บริการรถกระเช้าขึ้น-ลงดอยสุเทพได้ ระหว่างเวลา 05.30-19.30 น.
       งานประเพณีเตียวขึ้นดอยเพื่อสักการะพระธาตุดอยสุเทพจัดเป็นประจำทุกปี โดยมีขึ้นก่อนหน้าวันวิสาขบูชา 1 คืน ในงานจะมีขบวนแห่น้ำสำหรับสรงพระธาตุโดยมีพระสงฆ์ สามเณร และพุทธศาสนิกชนจากชุมชนต่าง ๆ มาร่วมขบวนแห่ขึ้นดอยเป็นจำนวนมาก
       ความเชื่อและวิธีการบูชา  เชื่อกันว่าหากมาสักการะและอธิษฐานขอพรพระธาตุดอยสุเทพ จะมีแต่ความสำเร็จสมหวังดังปรารถนา แคล้วคลาด ผ่านอุปสรรคนานาไปได้ ในการสักการะพระธาตุนั้น ควรเตรียมข้าวตอก ดอกไม้ ธูปเทียนแล้วเดินเวียนขวา 3 รอบ พร้อมกล่าวคำนมัสการพระธาตุ โดยตั้งจิตอธิษฐานขอให้สมหวังในสิ่งที่ปรารถนา และควรไหว้พระธาตุให้ครบทั้ง 4 ทิศ ซึ่งให้อานิสงส์ที่ต่างกัน คือ ทิศเหนือขอให้มีปัญญาดุจพระจัทร์เพ็ญ ทิศใต้ ขอให้ได้เป็นพระภิกษุสงฆ์ได้บวชในบวรพุทธศาสนา ทิศตะวันออกขอให้ได้ขึ้นสวรรค์ ทิศตะวันตกเป็นการเคารพบูชาสูงสุดต่อพระธาตุ สิ่งที่ไม่ควรพลาดเมื่อได้มานมัสการพระธาตุดอยสุเทพแล้ว ควรมากราบอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา ที่ประดิษฐานอยู่ตรงเชิงดอยสุเทพเพื่อความเป็นสิริมงคลอีกด้วย
         การเดินทาง จากตัวเมืองสามารถเดินทางโดยใช้เส้นทางผ่านหน้ามหาวิทยาลัยและสวนสัตว์เชียงใหม่ สำหรับนักท่องเที่ยวที่ไม่มีรถส่วนตัวสามารถเดินทางมาที่วัดโดยรถสองแถวประจำทางจากบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ด้านถนนห้วยแก้ว ซึ่งบริการระหว่างเวลาประมาณ 05.00-17.00 น.


วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร
        วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร อยู่ที่ถนนพระปกเกล้า วัดนี้ตั้งอยู่ใจกลางเมืองเชียงใหม่พอดี ประดิษฐานเจดีย์ใหญ่ที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่ สร้างขึ้นในรัชกาลพระเจ้าแสนเมืองมากษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์มังราย (พ.ศ.1913-1954) ต่อมาพระยาติโลกราชโปรดให้ช่างขยายเจดีย์ให้สูงและกว้างกว่าเดิม แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2024 และอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานระหว่าง พ.ศ.2011-2091 นานถึง 80 ปี ต่อมาในสมัยพระนางจิระประภา ได้เกิดแผ่นดินไหวเมื่อปี พ.ศ. 2088 ทำให้ยอดเจดีย์หักโค่นลง ปัจจุบันเจดีย์มีความสูงคงเหลือ 40.8 เมตร ฐานกว้างด้านละ 60 เมตร
       วิหารหลวงของวัดนี้เจ้าคุณอุบาลีคุณปรมาจารย์ (สิริจันทะเถระ) และเจ้าแก้วนวรัฐเป็นผู้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2471 หน้าประตูทางเข้าวิหาร มีบันไดนาคเลื้อยงดงามยิ่ง ใช้หางเกี่ยวกระหวัดขึ้นไปเป็นซุ้มประตูวิหาร นาคคู่นี้เป็นฝีมือเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่เดิมได้ชื่อว่าเป็นนาคที่สวยที่สุดของภาคเหนือ
และในวัดเจีย์หลวงนี้ยังมี เสาอินทขิล หรือ เสาหลักเมือง สร้างขึ้นเมื่อครั้งพ่อขุนเม็งรายมหาราชสร้างเมืองเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 1839 ประดิษฐานอยู่ในวิหารจตุรมุขทรงไทยหลังเล็กๆ เสาอินทขิลนี้สร้างด้วยไม้ซุงต้นใหญ่ ฝังอยู่ใต้ดิน ทุกปีในวันแรม 12 ค่ำเดือน 8 (เหนือ) หรือประมาณเดือนพฤษภาคมจะมีงานเรียกว่า เข้าอินทขิล เป็นการฉลองหลักเมือง

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
       แต่เดิมดอยอินทนนท์มีชื่อว่า ดอยหลวงหรือ ดอยอ่างกาดอยหลวง หมายถึงภูเขาที่มีขนาดใหญ่ ส่วนที่เรียกว่าดอยอ่างกานั้น มีเรื่องเล่าว่า ห่างจากดอยอินทนนท์ไปทางทิศตะวันตก 300 เมตร มีหนองน้ำอยู่แห่งหนึ่งลักษณะเหมือนอ่างน้ำ แต่ก่อนนี้มีฝูงกาไปเล่นน้ำกันมากมาย จึงเรียกว่า อ่างกา ต่อมาจึงรวมเรียกว่า ดอยอ่างกา

       ดอยอินทนนท์นี้เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัยซึ่งพาดผ่านจากประเทศเนปาล ภูฐาน พม่า และมาสิ้นสุดที่นี่ สิ่งที่น่าสนใจของดอยนี้ไม่เพียงแต่เป็นยอดดอยที่สูงที่สุดในประเทศด้วยความสูง 2,565 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลางเท่านั้น แต่สภาพภูมิประเทศและสภาพป่าที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นป่าดงดิบ ป่าสน ป่าเบญจพรรณ และอากาศที่หนาวเย็นตลอดทั้งปีโดยเฉพาะในฤดูหนาวจะมีหมอกปกคลุมเกือบทั้งวันและบางครั้งน้ำค้างยังกลายเป็นน้ำค้างแข็ง สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นเสน่ห์ดึงดูดให้มีผู้มาเยือนที่นี่อย่างไม่ขาดสาย
       การเดินทาง ระยะทางจากตัวเมืองขึ้นไปจนถึงยอดดอยอินทนนท์ประมาณ 106 กิโลเมตร ออกจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปตามทางหลวงหมายเลข 108 เชียงใหม่-จอมทอง ถึงหลักกิโลเมตรที่ 57 ก่อนถึงอำเภอจอมทอง 1 กิโลเมตร แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 1009 สายจอมทอง-อินทนนท์ ระยะทาง 48 กิโลเมตรถึงยอดดอยอินทนนท์ เป็นถนนลาดยางอย่างดีแต่ทางค่อนข้างสูงชัน รถที่นำขึ้นไปจะต้องมีสภาพดี ผู้ที่ไม่มีรถยนต์ส่วนตัวสามารถนั่งรถสองแถวสายเชียงใหม่-จอมทองบริเวณประตูเชียงใหม่ จากนั้นขึ้นรถสองแถวที่หน้าวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหารหรือที่น้ำตกแม่กลาง ซึ่งจะเป็นรถโดยสารประจำทางไปจนถึงที่ทำการอุทยานฯตรงหลักกิโลเมตรที่ 31 และหมู่บ้านใกล้เคียง แต่หากต้องการจะไปยังจุดต่าง ๆ  ต้องเหมาไปคันละประมาณ 800 บาท
        ค่าธรรมเนียมเข้าอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ คนไทย ผู้ใหญ่ 40 บาท เด็ก 20 บาท ต่างชาติ ผู้ใหญ่ 200 บาท เด็ก 100 บาท
        สถานที่น่าสนใจในอุทยานฯ
น้ำตกแม่ยะ  เป็นน้ำตกขนาดใหญ่และสวยงามมากแห่งหนึ่ง เพราะน้ำซึ่งไหลลงมาจากหน้าผาที่สูงชัน 280 เมตร ลงมากระทบโขดหินเป็นชั้น ๆ เหมือนม่าน แล้วลงไปรวมกันที่แอ่งน้ำเบื้องล่าง น้ำใสเย็นเหมาะสำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ อีกทั้งบริเวณรอบ ๆ น้ำตกเป็นป่าเขาอันสงบเงียบ และมีศูนย์ประชาสัมพันธ์นักท่องเที่ยวตั้งอยู่ด้วย บริเวณน้ำตกสะอาดและจัดการพื้นที่ได้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม  การเดินทาง จากทางแยกเข้าทางหลวง  1009 ไปประมาณ 1 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าไป 14 กิโลเมตร และต้องเดินเท้าเข้าไปอีก 200 เมตร

น้ำตกแม่กลาง  เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ชั้นเดียว สูงประมาณ 100 เมตร ต้นน้ำอยู่บนดอยอินทนนท์ มีน้ำไหลตลอดปี มีความสวยงามตามธรรมชาติ การเดินทาง จากทางแยกเข้าทางหลวง 1009 ไปอีก 8 กิโลเมตร แยกซ้าย 500 เมตร เป็นทางลาดยางตลอด

ถ้ำบริจินดา  ตั้งอยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 8-9 ของทางหลวงหมายเลข 1009 ใกล้กับน้ำตกแม่กลาง จะเห็นทางแยกขวามือมีป้ายบอกทางไปถ้ำบริจินดา ภายในถ้ำลึกหลายกิโลเมตร เพดานถ้ำมีหินงอกหินย้อย หรือชาวเหนือเรียกว่า นมผาสวยงามมาก มีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ในถ้ำด้วย นอกจากนั้น ยังมีธารหิน เมื่อมีแสงสว่างมากระทบจะเกิดประกายระยิบระยับดังกากเพชรงามยิ่งนัก ลักษณะของถ้ำเป็นถ้ำทะลุสามารถมองเห็นภายในได้ถนัด เพราะมีอุโมงค์ซึ่งแสงสว่างลอดเข้ามา บริเวณปากถ้ำจะมีป้ายขนาดใหญ่ตั้งอยู่ อธิบายประวัติการค้นพบถ้ำนี้

น้ำตกวชิรธาร  เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ เดิมชื่อ ตาดฆ้องโยง”  น้ำจะดิ่งจากผาด้านบนตกลงสู่แอ่งน้ำเบื้องล่าง  ในช่วงที่มีน้ำมากละอองน้ำจะสาดกระเซ็นไปทั่วบริเวณรู้สึกได้ถึงความเย็นและชุ่มชื้น และสะพานไม้ที่ทอดยาวเข้าไปหาหน้าผานั้นจะเปียกลื่นอยู่ตลอดเวลา แต่หากเดินเข้าไปจนสุดจะได้สัมผัสกับความงามของน้ำตกมากที่สุด
การเดินทาง  จากเชิงดอยอินทนนท์ขึ้นไปถึงกิโลเมตรที่ 21 จะเห็นป้ายบอกทางแยกขวาเข้าน้ำตก ลงไป 500 เมตร ถนนจะถึงที่ตัวน้ำตก  อีกเส้นทางหนึ่งซึ่งเป็นเส้นทางเดิมอยู่เลยจากทางแยกแรกไปประมาณ 1 กิโลเมตร เลี้ยวขวาตามป้ายและเดินจากลานจอดรถลงไปอีก 351 เมตร หากใช้เส้นทางนี้จะได้สัมผัสกับความงามของธรรมชาติรอบด้านตลอดทางเดิน

น้ำตกสิริภูมิ  ไหลมาจากหน้าผาสูงชัน เป็นทางยาวสวยงามมาก สามารถมองเห็นได้จากบริเวณที่ทำการอุทยานฯ เป็นสายน้ำตกแฝดไหลลงมาคู่กันแต่เดิมเรียกว่า เลาลึตามชื่อของหัวหน้าหมู่บ้านม้งซึ่งอยู่ใกล้ ๆ น้ำตกสิริภูมิตั้งอยู่ตรงกิโลเมตรที่ 31 ของทางหลวงหมายเลข 1009 มีทางแยกขวามือเข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร แต่รถไม่สามารถเข้าไปใกล้ตัวน้ำตกได้ นักท่องเที่ยวต้องเดินเท้าเข้าไปบริเวณด้านล่างของน้ำตก

โครงการหลวงดอยอินทนนท์ ตั้งอยู่ในบริเวณดอยอินทนนท์ ภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย สถานีวิจัยโครงการหลวงอินทนนท์เป็นสถานีวิจัยดอกไม้เมืองหนาวเป็นหลัก พรรณไม้ที่ปลูกมากที่สุดคือเบญจมาศ เพราะมีสีสันสดใส นอกจากนั้นยังมีโครงการวิจัยสตรอว์เบอรรี โครงการศึกษาและรวบรวมพันธุ์เฟินชนิดต่างๆ โครงการวิจัยกาแฟ โครงการวิจัยฝรั่งคั้นน้ำ ไม้ผล เช่น สาลี่ พลับ กีวี ทิบทิมเมล็ดนิ่ม ฯลฯ ไม้ดอก เช่น แกลดิโอลัส กุหลาบ เยอบีรา ฯลฯ ผัก เช่น พริกหวาน มะเขือเทศ เซเลอรี ฯลฯ

ยังมีพืชผักสมุนไพร และไม้ผลขนาดเล็ก ซึ่งจัดจำหน่ายภายใต้ตรา "ดอยคำ" รวมทั้งเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลาเทร้าต์สายรุ้ง นอกจากนี้ยังมีประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่น่าสนใจ ได้แก่ การทำนาข้าวขั้นบันไดของเผ่ากะเหรี่ยง ประเพณีกินวอของชาวเผ่าม้งบ้านขุนกลาง และแหล่งท่องเที่ยวเพื่อชมความงามธรรมชาติรอบๆพื้นที่ รวมทั้งกิจกรรมดูนกและชมดาว โครงการหลวงฯ ตั้งอยู่ที่ หมู่บ้านขุนกลาง ตำบลห้วยหลวง เดินทางตามเส้นทางสู่ดอยอินทนนท์ ถึงบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 31 ของทางหลวงหมายเลข 1009 มีทางแยกขวามือเป็นทางลูกรังเข้าสู่โครงการฯ อีกประมาณ 1 กิโลเมตร โครงการหลวงฯนี้ รับผิดชอบส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรมให้แก่กะเหรี่ยงและม้งในพื้นที่




 

พระมหาธาตุนภเมทนีดลและพระมหาธาตุนภพลภูมิสิริ   ตรงหลักกิโลเมตรที่ 41.5 ทางด้านซ้ายมือ สร้างขึ้นโดยกองทัพอากาศร่วมกับพสกนิกรชาวไทย โดยพระมหาธาตุนภเมทนีดล สร้างถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ เมื่อพ.ศ. 2530 และพระมหาธาตุนภพลภูมิสิริ  สร้างถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ เมื่อพ.ศ. 2535 พระมหาธาตุทั้ง 2 องค์นี้ มีรูปทรงคล้ายคลึงกัน คือ ฐานเป็นรูป 12 เหลี่ยม มีระเบียงแก้วโดยรอบเป็น 2 ระดับ ยอดปลีขององค์เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและพระพุทธรูปบูชา รอบบริเวณสามารถมองเห็นทิวทัศน์ของดอยอินทนนท์ได้อย่างสวยงาม

ยอดดอยอินทนนท์  จุดสิ้นสุดของทางหลวงหมายเลข 1009 เป็นยอดดอยที่สูงที่สุดในประเทศไทย (2,565 เมตร) มีสภาพอากาศหนาวเย็นตลอดปี เป็นที่ตั้งสถานีเรดาร์ของกองทัพอากาศไทยและเป็นที่ประดิษฐานสถูปเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าเมืองเชียงใหม่องค์สุดท้ายซึ่งเล็งเห็นความสำคัญของป่าไม้และหวงแหนดอยหลวงเป็นอย่างมากต้องการที่จะอนุรักษ์ไว้จนชั่วลูกชั่วหลาน ท่านผูกพันกับที่นี่มากจึงสั่งว่าหากสิ้นพระชนม์ไปแล้วให้แบ่งเอาอัฐิส่วนหนึ่งมาไว้ที่นี่

ศูนย์ประชาสัมพันธ์นักท่องเที่ยว อยู่บริเวณใกล้กับยอดดอย แสดงนิทรรศการเรื่องราวของดอยอินทนนท์จากอดีตถึงปัจจุบัน ให้ความรู้ทั้งสภาพทางภูมิศาสตร์  ทางชีววิทยา  ป่าไม้ สิ่งมีชีวิต ซึ่งบางชนิดหาดูได้ที่นี่แห่งเดียวในเมืองไทย ผู้มาเยือนจะได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากมาย

น้ำตกห้วยทรายเหลือง  เป็นน้ำตกขนาดกลาง มีน้ำไหลแรงตลอดปี และไหลจากหน้าผาลงมาเป็นชั้น ๆ เข้าทางเดียวกับน้ำตกแม่ปาน ห่างจากที่ว่าการอำเภอแม่แจ่มประมาณ 16 กิโลเมตร  แยกจากทางหลวงหมายเลข 1009   ตรงด่านตรวจกิโลเมตรที่ 38    ไปตามทางหลวงหมายเลข 1192 สายอินทนนท์-แม่แจ่ม ประมาณ 6 กิโลเมตร จะมีป้ายบอกทางไปน้ำตก เข้าไปประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นทางดินแดงในช่วงหน้าฝนทางลำบากมากต้องใช้รถขับเคลื่อน 4 ล้อ

น้ำตกแม่ปาน เข้าทางเดียวกับน้ำตกห้วยทรายเหลือง แต่อยู่เลยไปอีก 500 เมตร  และจากจุดจอดรถต้องเดินต่อไปอีก 800 เมตร ใช้เวลาประมาณ 10 นาที จึงจะถึงตัวน้ำตก น้ำตกแม่ปานนับว่าเป็นน้ำตกที่ยาวที่สุดของเชียงใหม่ก็ว่าได้ น้ำจะตกลงมาจากหน้าผาซึ่งสูงกว่า 100 เมตร เป็นทางยาว ถ้ามองดูแต่ไกลจะเห็นสายน้ำยาวสีขาวตัดกับสีเขียวของต้นไม้ทำให้ดูเด่น น้ำที่ตกลงมายังเบื้องล่างกระทบโขดหินแตกเป็นฟองกระจายไปทั่วบริเวณทำให้มีความชุ่มชื้น เบื้องล่างมีแอ่งน้ำรองรับอยู่ สามารถพักผ่อนลงอาบเล่นได้

เส้นทางศึกษาธรรมชาติบนดอยอินทนนท์ กิ่วแม่ปาน ทางเข้าอยู่กิโลเมตรที่ 42 ด้านซ้ายมือ ระยะทางเดิน 3 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินเท้าประมาณ 3 ชั่วโมง เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการสัมผัสธรรมชาติแท้จริง ระหว่างทางเดินจะพบป่าดิบเขา (Hill Evergreen) ก่อนผ่านเข้าสู่ทุ่งหญ้าซึ่งเคยเป็นพื้นที่ป่าถูกทำลาย เพื่อเป็นการศึกษาลักษณะการเกิดผลกระทบต่อเนื่องบริเวณรอยต่อระหว่างพื้นที่ป่าสมบูรณ์กับพื้นที่ถูกทำลาย หลังจากนั้นทางเดินจะเลาะริมผามีไอหมอกปลิวผ่านตลอดเวลา จะพบดอกกุหลาบพันปี หรือ Rhododendron (ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก ขึ้นตามป่าในระดับสูง มีพันธุ์ดอกสีขาวและสีแดง เวลาออกดอกช่วงแรกมีลักษณะเหมือนปลีกล้วย ก่อนที่จะบานเต็มต้นในช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ พบมากในแถบเทือกเขาหิมาลัยและเป็นไม้ประจำชาติของเนปาลด้วย)  มองลงไปยังเบื้องล่างจะพบทัศนียภาพที่งดงามของอำเภอแม่แจ่ม
การใช้เส้นทางนี้ต้องลงทะเบียนขอรับใบอนุญาตให้ใช้เส้นทางโดยติดต่อที่ศูนย์ประชาสัมพันธ์อุทยานฯ และควรจัดกลุ่มละไม่เกิน 15 คน ทางอุทยานฯไม่อนุญาตให้นำอาหารเข้าไปรับประทานในเส้นทางในช่วงฤดูฝน และจะปิดเส้นทางเพื่อให้ธรรมชาติฟื้นตัวไม่อนุญาติให้เข้าไปท่องเที่ยวตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน ถึงวันที่ 30 ตุลาคม ของทุกปี เส้นทางศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปานแห่งนี้  ได้รับรางวัลดีเด่นประเภทแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ  รางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ครั้งที่ 4 ประจำปี พ.ศ. 2545 เพราะมีการจัดการที่เน้นความเป็นธรรมชาติ ระหว่างทางมีป้ายสื่อความหมายให้ความรู้กับนักท่องเที่ยว และประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการนำเที่ยว

อ่างกาหลวง เส้นทางนี้สำรวจวางแนวและออกแบบเส้นทางเดินโดย คุณไมเคิล แมคมิลแลน วอลซ์ นักสัตววิทยาและอาสาสมัครชาวแคนาดาประจำอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์  ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่ทำงานทุ่มเทให้กับอินทนนท์ และได้เสียชีวิตที่นี่ด้วยโรคหัวใจ  เส้นทางนี้มีระยะทาง 1,800 เมตร พื้นที่นี้เป็นหนองน้ำซับในหุบเขา  จุดเด่นที่น่าสนใจ คือ ป่าดิบเขาระดับสูง  ลักษณะของพรรณไม้เขตอบอุ่นผสมกับเขตร้อนที่พบเฉพาะในระดับสูง การสะสมของอินทรียวัตถุในป่าดิบเขา  ลักษณะอากาศเฉพาะถิ่น  พืชที่อาศัยเกาะติดต้นไม้ ลักษณะของต้นน้ำลำธาร และลักษณะของต้นไม้บนดอยอ่างกา เช่นต้นข้าวตอกฤาษีที่ขึ้นตามพื้นดิน (ข้าวตอกฤาษี เป็นพืชที่ต้องการความอุดมสมบูรณ์สูง จะขึ้นในที่สูงกว่า 2,000  เมตรเท่านั้น และเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ชุ่มชื้น อากาศเย็น) กุหลาบพันปี เป็นต้น ยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติ อีกหลายเส้น เช่น เส้นทางศึกษาธรรมชาติ กิโลเมตรที่ 38 และ เส้นทางศึกษาธรรมชาติกลุ่มน้ำตกแม่ปาน เป็นต้น แต่ละเส้นใช้เวลาในการเดินต่างกันตั้งแต่ 20 นาที – 7 ชั่วโมง และเหมาะที่จะศึกษาสภาพธรรมชาติที่ต่างกันด้วย ศึกษารายละเอียดเส้นทางได้จากที่ทำการอุทยานฯ และจะต้องติดต่อขอเจ้าหน้าที่นำทางจากที่ทำการฯ บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 31 เพื่อป้องกันการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ และปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น และเป็นการส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การใช้สถานที่เพื่อการพักค้างแรมหรือจัดกิจกรรมอื่น ๆ นอกเหนือจากบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ต้องขออนุญาตจากหัวหน้าอุทยานฯ เป็นลายลักษณ์อักษร

กิจกรรมดูนกบนดอยอินทนนท์ จากการสำรวจพบว่ามีนกอยู่ 380 ชนิด แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์และหลากหลายทางชีวภาพ ดังนั้นหากต้องการดูนก นักท่องเที่ยวสามารถชมได้ตั้งแต่ บริเวณด่านตรวจที่ 1 จนถึงยอดดอย โดยมีจุดเด่นดังนี้ บริเวณกม. 13, กม. 20, บริเวณที่ทำการฯ, บริเวณกม.ที่ 34.5, กม.ที่ 37 หรือจี๊ป แทรค กิ่วแม่ปาน กม. 42, บนยอดดอยอินทนนท์ และศูนย์บริการข้อมูลนกอินทนนท์ที่ร้านลุงแดง ตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 31 หน่วยจัดการต้นน้ำแม่กลาง ให้บริการด้านข้อมูลนกในดอยอินทนนท์ เช่น สมุดบันทึกการพบนกในดอยอินทนนท์ ภาพวาดลายเส้นของนักดูนก แผนที่เส้นทางดูนกดอยอินทนนท์ ภาพถ่าย สไลด์เกี่ยวกับนก ฯลฯ ให้บริการทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ

ช่วงที่นักดูนกนิยมมาดูนกกันเป็นฤดูหนาว นอกจากจะได้พบนกประจำถิ่นแล้ว ยังสามารถพบนกอพยพ เช่น นกปากซ่อมดง  นกอุ้มบาตร  นกเด้าลมหลังเทา นกเด้าลมหลังเหลือง  นกเด้าลมดง  นกเด้าลมหัวเหลือง  นกจาบปีกอ่อนเล็ก  นกจาบปีกอ่อนหงอน  นกจาบปีกอ่อนสีแดง  นกเดินดงสีน้ำตาลแดง  ฯลฯ ทางศูนย์ฯจะบริการให้คำแนะนำตลอดจนเป็นสถานที่พบปะสนทนาระหว่างนักดูนก  นักศึกษาธรรมชาติและบุคคลทั่วไป  เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ดีต่อการอนุรักษ์และรักษาสภาพธรรมชาติ  ทำให้ทราบถึงแหล่งที่อยู่อาศัย  แหล่งอาหารของนกและสัตว์ป่าในดอยอินทนนท์  ให้คงอยู่ถึงรุ่นลูกรุ่นหลานต่อไป


ถนนนิมมานเหมินทร์
      ถนนนิมมานเหมินทร์ ตั้งอยู่ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ หากจะเปรียบแล้ว ถนนนิมมานเหมินทร์ก็คงคล้ายกับถนนสุขุมวิทของกรุงเทพฯ แม้ความยาวและขนาดของธุรกิจจะสู้กันไม่ได้ แต่เปอร์เซ็นต์ความหรูหราของถนนและร้านค้ามีระดับที่มีอยู่อย่างมากมายก็มิได้ต่างกันเลย
อะไรที่ทำให้ถนนซึ่งมีความยาวเพียงกิโลเมตรกว่า ๆ นี้เป็นที่กล่าวขวัญถึงเสมอเมื่อใครสักคนมาเยือนเชียงใหม่ ถึงขนาดว่าถ้าไม่ได้มาเดินช็อปปิ้งบนถนนเส้นนี้ ก็เหมือนว่าจะขาดอะไรไปสักอย่างที่จะทำให้การท่องเที่ยวในเมืองเชียงใหม่ไม่สมบูรณ์ การเดินเริ่มต้นที่นิมมานเหมินท์ซอย 1 อันเป็นเสมือนตัวแทนของถนนทั้งสายเนื่องจากเต็มไปด้วยร้านระดับเกรดเอ ที่มีการตกแต่งเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นไม่เหมือนใคร ไม่ว่าจะเป็นแกลลอรี่ อาทิ ร้านกองดี แกลลอรี่ หรือร้านขายของตกแต่งบ้านที่มีสินค้าหลากหลายประเภทมากที่สุดของเชียงใหม่ อาทิ ร้านไม้มุงเงิน สุริยันจันทรา ร้านจำหน่ายเทียนหอมอย่างร้านแมวใจดี ไปจนถึงร้านผ้าฝ้ายทอมือที่มีเนื้องานเต็มไปด้วยชีวิตชีวาราคาตั้งแต่ไม่กี่ร้อยบาทไปจนถึงหลักหลายหมื่น ถนนนิมมานเหมินทร์เปิดทุกวันตั้งแต่เวลาเที่ยงไปจนถึงช่วงเย็น

อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน
       อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน อยู่ในพื้นที่จังหวัดแพร่ น่าน และอุตรดิตถ์ เป็นทิวเขาสลับซับซ้อนประกอบด้วยป่านานาชนิดที่ยังคงความสมบูรณ์ และเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนสิริกิติ์ มีเนื้อที่ทั้งหมด 624,468 ไร่ ประกอบด้วยป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และป่าดิบเขา และเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าจำนวนมาก เช่น เก้ง กวาง หมูป่า หมี และสัตว์ปีกจำนวนไม้น้อยกว่า 200 ชนิด ได้รับประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2541 จุดที่สูงที่สุดของอุทยานฯ คือ ยอดเขาภูพญาพ่อ สูงถึง 1,350 เมตร ซึ่งจะมีอากาศหนาวเย็นตลอดปี มีฝนตกชุกในช่วงเดือนพฤษภาคม - กันยายน ในฤดูหนาวอากาศหนาวจัด

สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจภายในอุทยานฯ

อ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 203 กิโลเมตร ภายในมีเกาะแก่งมากมาย เหมาะสำหรับการล่องแพชมวิวทิวทัศน์

จุดชมวิว เส้นทางสายป่าแดง น้ำกราย นางพญา ซึ่งลัดเลาะตามริมเขา มีทัศนียภาพที่สวยงามมาก เนื่องจากเส้นทางสายนี้ตัดผ่านป่าดิบแล้ง และป่าดิบเขาทำให้อากาศเย็นสบาย นอกจากนี้ยังสามารถพบเห็นพรรณไม้นานาชนิด เช่น กล้วยไม้ป่า พญาเสือโคร่ง และเฟิร์นพันธุ์ต่าง ๆ

เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ จะมี 2 เส้นทาง คือ ระยะทาง 2 กิโลเมตร และ 4 กิโลเมตร ตลอดเส้นทางจะมีจุดชมวิวตลอดระยะทาง นอกจากนั้นยังมีสถานที่ต่าง ๆ เหล่านี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์อันงดงามของอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์

แก่งนางพญา จะเป็นแก่งหินน้อยใหญ่ลดหลั่นกันลงไป อยู่กลางลำน้ำนางพญา มีน้ำไหลตลอดปี บริเวณแก่งดูสวยงามมาก
นอกจากนี้ในอุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน ยังมีน้ำตกหลายแห่ง เช่น น้ำตกเชิงทอง น้ำตกห้วยมุ่น และน้ำตกดอยผาหมอก ซึ่งเป็นน้ำตกขนาดเล็ก มีน้ำไหลตลอดปี และเป็นน้ำตกที่อยู่ใกล้หน่วยพิทักษ์อุทยานฯ เชิงทอง สามารถเดินทางจากจังหวัดแพร่สะดวกกว่า คือ จากตัวอำเภอแพร่ เข้ามาทางวัดพระธาตุช่อแฮ พอถึงวัดพระธาตุช่อแฮ ให้เลี้ยวซ้ายตรงไปประมาณ 9 กิโลเมตร

ค่าเข้าอุทยานฯ ผุ้ใหญ่ คนละ 20 บาท เด้ก คนละ 10 บาท ชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ คนละ 100 บาท เด็ก คนละ 50 บาท

การเดินทางห่างจากตัวจังหวัดอุตรดิตถ์ 36 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 1045 (อุตรดิตถ์-เขื่อนสิริกิติ์) ผ่านสามแยกร่วมจิต และสามแยกห้วยเจริญจะพบทางแยกซ้ายมือ ประมาณ 4 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน

อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว
      มีพื้นที่ 149,375 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ของอำเภอบ้านโคก อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ และอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ได้รับการประกาศเป็นอุทยานฯ เมื่อปี 2537 ลักษณะภูมิประเทศประกอบด้วยภูเขาสูงตามแนวชายแดนไทย - ลาว มียอดภูสอยดาวสูงที่สุด 2,102 เมตร จากระดับทะเล สภาพพื้นที่เป็นภูเขาสูงที่ป่าปกคลุม เป็นป่าดิบเขาสลับทุ่งหญ้าและป่าสน เช่น ป่าสนสามใบ อากาศหนาวเย็นเกือบตลอดทั้งปี มีดอกไม้ป่าพันธุ์ต่างๆ เช่น ดอกหงอนนาค ดอกไม้ดินต่างๆ ขึ้นอยู่กลางป่าสน ภูสอยดาวสามารถจะมาท่องเที่ยวได้ทั้งปี แต่ถ้าหากอยากดูดอกไม้สีสวยๆ ที่มักจะขึ้นเพื่อรับความชุ่มชื้นในช่วงหน้าฝน ควรจะมาในช่วงปลายฝนต้นหนาว

     สถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจภายในอุทยานฯ ได้แก่

น้ำตกภูสอยดาว อยู่ใกล้ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มี 5 ชั้น มีน้ำไหลตลอดปี แต่จะมีน้ำมากในช่วงหน้าฝน
ลานสน การเดินทางสู่ยอดลานสนต้องขึ้นเขาลาดชันเกือบตลอดเส้นทาง และผ่านเนินต่าง ๆ ที่มีชื่อบอกถึงความยากลำบากในการเดินผ่านแต่ละเนิน เช่น เนินส่งญาติ เนินปราบเซียน เนินป่าก่อ เนินเสือโคร่ง และเนินมรณะ ที่มีความสูงชันมากที่สุด แต่เส้นทางที่เดินขึ้นไปนั้นไม่ยุ่งยากเพราะจะเดินไต่เขาขึ้นไปตามสันเขาไม่มีทางแยกไปไหน ระยะทางเดินเท้าขึ้นลานสนประมาณ 6.5 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินเท้าประมาณ 5-6 ชั่วโมง บนลานสนจะเป็นทุ่งหญ้า มีต้นสนสองใบ สนสามใบ ต้นหงอนนาค ที่มีสีม่วงตัดกับดอกสร้อยสุวรรณาที่มีสีเหลือง ออกดอกให้ดูสวยงาม และดอกไม้อีกนานาชนิดที่ขึ้นอวดความสวยงามและสร้างความสดขื่นสดใสให้กับลานสน บนลานสนเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่สวยงามด้วย บนลานสนไม่มีบ้านพักและอาหาร หากต้องการจะขึ้นไปพักค้างแรมต้องเตรียมเต็นท์และอาหารไปเอง และหากนักท่องเที่ยวต้องการลูกหาบช่วยขนสัมภาระก็มีบริการ การจะขึ้นบนลานสนต้องติดต่อขอเจ้าหน้าที่นำทาง และอุทยานฯ จะอนุญาตให้ขึ้นได้ตั้งแต่เวลา 08.00–13.00 น.

น้ำตกสายทิพย์ เป็นน้ำตกอยู่บนลานสน มี 7 ชั้น ทางไปน้ำตกเป็นหุบเขา ค่อนข้างลาดชัน
อุทยานฯ มีบ้านพักบริการนักท่องเที่ยว และสามารถกางเต็นท์ได้บนยอดลานสน สอบถามรายละเอียดได้ที่ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ โทร. 579–5734, 579–7223 หรือที่ อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว ตำบลห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ 53110
             อัตราค่าบริการ
             บริเวณลานสนภูสอยดาว  ชาวไทย ผู้ใหญ่คนละ 40 บาท เด็กคนละ 20 บาท ชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่คนละ 200 บาท เด็กคนละ 100 บาท 
             บริเวณอื่นๆ                      ชาวไทย ผู้ใหญ่คนละ 20 บาท เด็กคนละ 10 บาท ชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่คนละ 100 บาท เด็กคนละ    50 บาท 

การเดินทาง

จากจังหวัดอุตรดิตถ์ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1045 ผ่านเขื่อนสิริกิติ์ สู่อำเภอน้ำปาด ระยะทาง 68 กิโลเมตร ต่อจากนั้นใช้เส้นทางหมายเลข 1239 ไปทางบ้านห้วยมุ่นอีกประมาณ 47 กิโลเมตร และจากบ้านห้วยมุ่นใช้เส้นทางหมายเลข 1268 อีก 18 กิโลเมตร ก็จะถึงน้ำตกภูสอยดาว ซึ่งเป็นจุดเริ่มเดินเท้าขึ้นสู่ยอดลานสน สำหรับรถโดยสารประจำทาง จากอุตรดิตถ์จะมีรถโดยสารปรับอากาศออกจากตลาดอำเภอเมือง (ตลาดต้นโพธิ์) ไปอำเภอน้ำปาดทุกชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 06.00–17.00 น. (แต่รถเที่ยวแรกจะเข้ามาที่สถานีขนส่ง เวลา 05.00 น.) ใช้เวลาประมาณ 2.30 ชั่วโมง จากนั้นลงรถที่หน้าโรงพยาบาลอำเภอน้ำปาด จะมีท่ารถสองแถว ต้องเหมารถไปภูสอยดาวประมาณ 300 บาท ใช้เวลาเดินทางอีก 3 ชั่วโมง สำหรับผู้ที่ต้องการจะเดินทางกลับทางอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ต้องเหมารถไป ราคาประมาณ 500 บาท ใช้เวลา 2 ชั่วโมง และต่อรถโดยสารไม่ปรับอากาศที่อำเภอชาติตระการ สายชาติตระการ-นครไทย-พิษณุโลก มีรถบริการระหว่างเวลา 05.00–17.30 น. ช่วงนี้ใช้เวลา 3 ชั่วโมง ค่าโดยสาร 43 บาท รถโดยสารจากพิษณุโลก กลับกรุงเทพฯ ควรจะไปซื้อตั๋วที่บริษัทในตลาดโดยตรงมากกว่าที่จะมาที่สถานีขนส่ง เนื่องจากมีโควตาขายตั๋วน้อย

อุทยานแห่งชาติคลองตรอน
      อุทยานแห่งชาติคลองตรอน  มีพื้นที่ป่าที่สมบูรณ์ มีเนื้อที่ประมาณ 324,240.80 ไร่ หรือ 518.80 ตารางกิโลเมตร  ได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2546 โดยอุทยานแห่งชาติคลองตรอน มีพื้นที่ครอบคลุมป่าน้ำปาด ป่าปากห้วยฉลอง ป่าห้วยสีเสียด ป่าคลองตรอนฝั่งขวา และป่าคลองตรอนฝั่งซ้าย ในท้องที่ตำบลแสนตอ ตำบลน้ำไคร้ ตำบลน้ำไผ่ อำเภอน้ำปาด ตำบลถ้ำฉลอง อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ตำบลผาเลือด อำเภอท่าปลา และตำบลน้ำพี้ ตำบลผักขวง ตำบลบ่อทอง อำเภอทองแสงขัน จังหวัดอุตรดิตถ์  มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สำคัญ และสวยงาม คือ น้ำตกห้วยเนียม น้ำตกกกมอนแก้ว ถ้ำจัน ถ้ำเจดีย์ ถ้ำเสือดาว ถ้ำผาตั้ง เขาภูเมี่ยง และหน้าผาที่สวยงามเป็นที่รู้จักทั่วไป  และยังมีคลองที่ชื่อว่า คลองตรอนเป็นคลองซึ่งลำห้วยต่างๆ ไหลมารวมกันที่คลองนี้และไหลลงสู่แม่น้ำน่าน ซึ่งเป็นที่มาของชื่ออุทยานฯ

         อุทยานฯ มีลักษณะเป็นเทือกเขาสูงต่ำมีแนวเทือกเขาที่สำคัญคือ เขาภูเมี่ยง เขาคว่ำเรือ เขาหงายเรือ เขาสามเหลี่ยม เขาหยวก เขาถนน เขาแดด เขาไม้ผา เขาตักบอน เขาน้ำย้อย เขาผักขวง เขาจันทร์ ยอดเขาที่สูงที่สุดอยู่ด้านทิศตะวันออกคือ เขาภูเมี่ยง สูง 1,500 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง แหล่งกำเนิดห้วยที่สำคัญไหลจากแนวตะวันออกไปสู่แนวตะวันตกและไหลสู่แม่น้ำน่าน ได้แก่ ห้วยคลองม้ามืด เป็นต้น สภาพป่าไม้ทั่วไปเป็นป่าดิบแล้ง ดิบเขา สนเขา ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง

         แหล่งท่องเที่ยวในอุทยานมีดังต่อไปนี้
         เขาเจดีย์เป็นภูเขาหิน มีรูปร่างคล้ายเจดีย์อ ยู่ห่างจากบริเวณถ้ำจันประมาณ 500 เมตร มีจุดเด่นเฉพาะตัวมองดูสวยงาม

         ถ้ำจันเป็นถ้ำขนาดกลาง อยู่บริเวณป่าสงวนแห่งชาติคลองตรองฝั่งขวา ในท้องที่ตำบลผักขวา ตำบลทองแสงขัน มีความลึกจากปากถ้ำประมาณ 200 เมตร กว้างประมาณ 15 เมตร ภายในถ้ำสวยงามด้วยโขดหินรูปทรงแปลกตา การเดินทางรถยนต์สามารถเข้าถึงได้


         ถ้ำวัวแดงและถ้ำเสือดาวเป็นถ้ำขนาดเล็ก ปากถ้ำแคบภายในโพลงเข้าไปในถ้ำแล้วเป็นทางแยก หลายทาง ห่างจากถ้ำจันทร์ประมาณ 200 เมตร

         น้ำตกคลองตรอนหรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "น้ำตกห้วยโป่ง" เป็นน้ำตกขนาดกลางซึ่งเกิดจากห้วยคลองตรอนที่ไหลตกลงมาเป็นน้ำตกหลายชั้น มีน้ำตก 2 แห่ง คือ แห่งแรก มี 4 ชั้น มีความสูงประมาณ 20 เมตร แห่งที่ 2 ห่างจากแห่งแรก ประมาณ 1,500 เมตร มีความสูงประมาณ 30 เมตร การเดินทางจากจังหวัดอุตรดิตถ์ใช้ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1045 สายอุตรดิตถ์-น้ำปาด เมื่อถึงอำเภอน้ำปาดเลี้ยวขวาตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1239 สายน้ำปาด-ห้วยมุ่น ไปอีก 18 กิโลเมตร มีทางแยกเข้าทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1212 ไปประมาณ 16 กิโลเมตร ถึงบ้านต้นขนุน จะมีทางแยกเข้าไปอีก 4 กิโลเมตร ถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ คต.1 (บ้านต้นขนุน) น้ำตกชั้นที่ 1 ของน้ำตกคลองตรอนจะอยู่ห่างไปประมาณ 300 เมตร และมีทางเดินเลาะลำห้วยขึ้นเขาไปสู่น้ำตกชั้นอื่นๆ แต่ระยะทางค่อนข้างไกล 

          ยอดดอยภูเมี่ยงตั้งอยู่บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ คต.1 (บ้านต้นขนุน) มีลักษณะเป็นเทือกเขาแบ่งเขตจังหวัดระหว่างจังหวัดอุตรดิตถ์-จังหวัดพิษณุโลก มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,656 เมตร สามารถชมทัศนียภาพของทั้ง 2 จังหวัด และสามารถมองเห็นเขื่อนสิริกิติ์ได้ นอกจากนี้ยังพบพรรณไม้ กุหลาบพันปี ข้าหลวง ดงตาว เอนอ้า และขันหมากป่า รวมทั้งพรรณไม้นานาชนิดตามเส้นทางสู่ยอดภูเมี่ยง และตามเส้นทางจะมีน้ำตกทั้งหมด 8 ชั้น แต่ละชั้นมีลักษณะความสวยงามแตกต่างกันออกไป ซึ่งยอดดอยภูเมี่ยงเหมาะสำหรับผู้รักความท้าทายและความสวยงามตามธรรมชาติของทุ่งหญ้า ป่าเขา ลำเนาไพร

          ค่าเข้าอุทยานฯผุ้ใหญ่ คนละ 20 บาท เด้ก คนละ 10 บาท ชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ คนละ 100 บาท เด็ก คนละ 50 บาท
          การเดินทาง จากอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 11 (พิษณุโลก-เด่นชัย) ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 107-108 (สามแยกบ้านป่าขนุน)ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1047 ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 36-37 สามารถแวะเที่ยวชมถ้ำจัน และเมื่อเดินทางต่อไปตามทางหลวงหมายเลข 1047 อีกประมาณ 11 กิโลเมตร ถึงทางแยกเข้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติคลองตรอน และเดินทางต่อไปอีก 3 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ        


อนุสาวรีย์พระศรีพนมมาศ
       อนุสาวรีย์พระศรีพนมมาศ อำเภอลับแลจ.อุตรดิตถ์อยู่ตรงสี่แยกตลาดลับแล เดิมชื่อ ทองอิน เป็นนายอากรสุราเชื้อสายจีนแต่ด้วยความรักในท้องถิ่นจึงพัฒนาเมืองลับแลมาโดยตลอดเป็นผู้นำชุมชนที่ชาวลับแลให้ความนับถือ ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นขุนพิศาลจีนะกิจ และเลื่อนเป็นพระศรีพนมมาศ ในปี พ.ศ. 2451
อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก
        อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก  ประดิษฐานอยู่หน้าศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์ สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติประวัติในความกล้าหาญ รักชาติและเสียสละ เมื่อครั้งพระยาพิชัยครองเมืองพิชัยในสมัยธนบุรี ท่านได้สร้างเกียรติประวัติไว้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2316 พม่ายกทัพมาตีเมืองพิชัย พระยาพิชัย ได้ยกทัพไปสกัดทัพพม่าจนแตกพ่ายกลับไป การรบในครั้งนั้นดาบคู่มือของพระยาพิชัยข้างขวาได้หักไปหนึ่งเล่ม แต่ก็ยังรบได้ชัยชนะต่อทัพพม่า ด้วยวีรกรรมดังกล่าว จึงได้สมญานามว่า พระยาพิชัยดาบหัก  อนุสาวรีย์แห่งนี้ออกแบบและหล่อโดยกรมศิลปากร ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512
          บริเวณอนุสาวรีย์ฯ มีพิพิธภัณฑ์อีก 2 อาคาร คือ  พิพิธภัณฑ์ดาบเหล็กน้ำพี้ใหญ่ที่สุดในโลกเป็นที่เก็บรักษาดาบเหล็กน้ำพี้ใหญ่ที่สุดในโลก มีน้ำหนัก 557.8 กิโลกรัม ฝักดาบทำด้วยไม้ประดู่ ฝังลวดลายมุกหุ้มปลอกเงินสลักสลาย และพิพิธภัณฑ์พระยาพิชัย ซึ่เก็บรวบรวมประวัติของพระยาพิชัยดาบหัก รวมทั้งแบบจำลอง สนามรบ และวิถีชีวิตในสมัยอยุธยาตอนปลาย เครื่องมือเครื่องใช้โบราณ
          อนุสาวรีย์ฯ และพิพิธภัณฑ์ เปิดให้เข้าเยี่ยมชมตั้งแต่เวลา 08.00-18.00 น. ทุกวัน

อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหักประดิษฐานอยู่หน้าศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์ สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติประวัติในความกล้าหาญ รักชาติและเสียสละ เมื่อครั้งพระยาพิชัยครองเมืองพิชัยในสมัยธนบุรี ท่านได้สร้างเกียรติประวัติไว้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2316 พม่ายกทัพมาตีเมืองพิชัย พระยาพิชัย ได้ยกทัพไปสกัดทัพพม่าจนแตกพ่ายกลับไป การรบในครั้งนั้นดาบคู่มือของพระยาพิชัยข้างขวาได้หักไปหนึ่งเล่ม แต่ก็ยังรบได้ชัยชนะต่อทัพพม่า ด้วยวีรกรรมดังกล่าว จึงได้สมญานามว่า พระยาพิชัยดาบหัก  อนุสาวรีย์แห่งนี้ออกแบบและหล่อโดยกรมศิลปากร ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512
          บริเวณอนุสาวรีย์ฯ มีพิพิธภัณฑ์อีก 2 อาคาร คือ  พิพิธภัณฑ์ดาบเหล็กน้ำพี้ใหญ่ที่สุดในโลกเป็นที่เก็บรักษาดาบเหล็กน้ำพี้ใหญ่ที่สุดในโลก มีน้ำหนัก 557.8 กิโลกรัม ฝักดาบทำด้วยไม้ประดู่ ฝังลวดลายมุกหุ้มปลอกเงินสลักสลาย และพิพิธภัณฑ์พระยาพิชัย ซึ่เก็บรวบรวมประวัติของพระยาพิชัยดาบหัก รวมทั้งแบบจำลอง สนามรบ และวิถีชีวิตในสมัยอยุธยาตอนปลาย เครื่องมือเครื่องใช้โบราณ
          อนุสาวรีย์ฯ และพิพิธภัณฑ์ เปิดให้เข้าเยี่ยมชมตั้งแต่เวลา 08.00-18.00 น. ทุกวัน

วัดพระยืนพุทธบาทยุคล
วัดพระยืนพุทธบาทยุคลอยู่เลยวัดพระบรมธาตุทุ่งยั้งไปตามทางหลวงหมายเลข 102 ประมาณ 500 เมตร วัดอยู่ทางซ้ายมือของถนนใกล้ทางแยก ภายในมีมณฑปเป็นศิลปะแบบเชียงแสน ครอบรอยพระพุทธบาทคู่ที่ประดิษฐานบนฐานดอกบัวสูงประมาณ 1.5 เมตร ที่วัดพระยืนพุทธบาทยุคลนี้ ยังมีพระพุทธรูปหล่อด้วยสัมฤทธิ์ปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัยเรียกกันว่า หลวงพ่อพุทธรังสี เดิมประดิษฐานอยู่ในมณฑปมีปูนพอกหุ้มไว้ทั้งองค์ ต่อมาได้กะเทาะปูนออกและนำไปประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถที่สร้างใหม่


วัดท่าถนน
       เดิมชื่อ วัดวังเตาหม้อ ตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำน่าน ถนนเกษมราษฎร์ ตำบลท่าอิฐ เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อเพชร เป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์สมัยเชียงแสน นั่งขัดสมาธิเพชร ตามประวัติกล่าวว่า ในปี พ.ศ.2436 ขณะหลวงพ่อด้วงเจ้าอาวาสวัดหมอนไม้ เดินทางกลับจากรับนิมนต์ที่วัดสว่างอารมณ์ ตำบลไผ่ล้อม อำเภอลับแล เมื่อผ่านวัดสะแกที่เป็นวัดร้าง ได้พบเนินดินเป็นจอมปลวกขนาดใหญ่มีเกศพระพุทธรูปโผล่ขึ้นมา เมื่อขุดดูพบว่าเป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ มีลักษณะงดงามมาก จึงนำมาประดิษฐานไว้ที่วัดท่าถนน  เปิดให้เข้าสักการะเวลา 07.00-17.00 น. ทุกวัน


วัดใหญ่ท่าเสา
ตั้งอยู่ที่ถนนสำราญรื่น ตำบลท่าเสา อยู่ใกล้กับสถานีรถไฟท่าเสา วัดนี้มีวิหารเก่าแก่ซึ่งมีบานประตูไม้แกะสลัก 2 บาน ตลอดจนลายไม้ที่วิหารด้านหน้า และมีหอไตรโบราณที่มีรูปแบบสีสันสวยงาม ซึ่งใช้เป็นที่เก็บพระไตรปิฎก

วนอุทยานต้นสักใหญ่
      วนอุทยานต้นสักใหญ่  อยู่ที่หมู่ 4 บ้านปางเกลือ ตำบลน้ำไคร้ ลักษณะเป็นป่าเบญจพรรณ มีเนื้อที่ 22,000 ไร่ ภายในมีต้นสักใหญ่ ซึ่งได้ถูกพบเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2470 มีอายุประมาณ 1,500 ปี ความยาวรอบต้น 1007 เซนติเมตร วัดเมื่อ 18 มิถุนายน 2543 แม้ส่วนยอดถูกพายุพัดหัก ลำต้นส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในสภาพเดิมโดยได้รับการดูแลรักษาให้มีความแข็งแรงสมบูรณ์ และในวนอุทยานต้นสักใหญ่ยังมีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ระยะทาง 2 กิโลเมตร การจะเดินเส้นทางศึกษาธรรมชาติจะต้องทำหนังสือขออนุญาตถึงฝ่ายอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ สำนักงานป่าไม้เขตพิษณุโลก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000 โทร. 0 5525 8028 ต่อ 502
     การเดินทาง
จากตัวเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 1045 (อุตรดิตถ์-เขื่อนสิริกิติ์) ประมาณ 60 กิโลเมตร เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 1146 ประมาณ 7 กิโลเมตร ถึงสามแยกบ้านห้วยปูดเลี้ยวขวาไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1047 ประมาณ 10 กิโลเมตร
วนอุทยานต้นสักใหญ่อยู่ที่หมู่ 4 บ้านปางเกลือ ตำบลน้ำไคร้ ลักษณะเป็นป่าเบญจพรรณ มีเนื้อที่ 22,000 ไร่ ภายในมีต้นสักใหญ่ ซึ่งได้ถูกพบเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2470 มีอายุประมาณ 1,500 ปี ความยาวรอบต้น 1007 เซนติเมตร วัดเมื่อ 18 มิถุนายน 2543 แม้ส่วนยอดถูกพายุพัดหัก ลำต้นส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในสภาพเดิมโดยได้รับการดูแลรักษาให้มีความแข็งแรงสมบูรณ์ และในวนอุทยานต้นสักใหญ่ยังมีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ระยะทาง 2 กิโลเมตร การจะเดินเส้นทางศึกษาธรรมชาติจะต้องทำหนังสือขออนุญาตถึงฝ่ายอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ สำนักงานป่าไม้เขตพิษณุโลก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000 โทร. 0 5525 8028 ต่อ 502

บ่อเหล็กน้ำพี้
      บ่อเหล็กน้ำพี้  อยู่ที่หมู่ 1 บ้านน้ำพี้ ตำบลน้ำพี้ ห่างจากตัวจังหวัด ประมาณ 56 กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 และเข้าทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1245 เป็นโบราณสถานซึ่งมีความสำคัญ เนื่องจากเป็นแหล่งเหล็กกล้า ที่นำมาทำพระแสงดาบตั้งแต่สมัยโบราณ เดิมมีอยู่ด้วยกันหลายบ่อ มีบ่อหนึ่งเรียกว่า บ่อพระแสง ห้ามมิให้ผู้ใดขุดเหล็กจากบ่อนี้ โดยสงวนไว้ใช้ทำพระแสงดาบสำหรับพระมหากษัตริย์เท่านั้น และ บ่อพระขรรค์ เป็นบ่อที่ในสมัยโบราณมีช่างทำพระขรรค์ถวายพระมหากษัตริย์ ได้นำแร่เหล็กน้ำพี้จากบ่อพระขรรค์ไปถลุงทำพระขรรค์ ภายในบริเวณมี พิพิธภัณฑ์บ่อเหล็กน้ำพี้ รวบรวมหลักฐานต่างๆ เกี่ยวกับประวัติเหล็กน้ำพี้ โดยจัดแสดงและจำลองให้เห็นถึงกระบวนการ ขั้นตอนการตีเหล็กน้ำพี้ ตั้งแต่การขุดแร่เหล็กน้ำพี้จนตีเป็นดาบที่มีความแกร่งและความคมเป็นเลิศ ดาบน้ำพี้จึงเป็นอาวุธคู่กายของขุนศึกและนักรบไทยในสมัยโบราณตลอดมา พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เปิดเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2542 เปิดให้เข้าชมฟรีทุกวัน เวลา 08.00 – 17.00 น.
       เหล็กน้ำพี้ในสมัยโบราณ นิยมนำไปตีเป็นพระแสงราชศัสตราของพระเจ้าแผ่นดิน จึงมีความเขื่อว่าเป็นเหล็กศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถแก้อาถรรพณ์ อยู่ยงคงกรพะนและป้องกันภูตผีปีศาจได้เป็นอย่างดี จึงเหมาะสำหรับผุ้ที่ต้องเดินทาไปในถิ่นแปลกที่อยุ่เป็นประจำ และผู้ที่ต้องพักค้งอ้างแรมในสถานที่ต่างๆอยู่เสมอ
บ่อเหล็กน้ำพี้  อยู่ที่หมู่ 1 บ้านน้ำพี้ ตำบลน้ำพี้ ห่างจากตัวจังหวัด ประมาณ 56 กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 และเข้าทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1245 เป็นโบราณสถานซึ่งมีความสำคัญ เนื่องจากเป็นแหล่งเหล็กกล้า ที่นำมาทำพระแสงดาบตั้งแต่สมัยโบราณ เดิมมีอยู่ด้วยกันหลายบ่อ มีบ่อหนึ่งเรียกว่า บ่อพระแสง ห้ามมิให้ผู้ใดขุดเหล็กจากบ่อนี้ โดยสงวนไว้ใช้ทำพระแสงดาบสำหรับพระมหากษัตริย์เท่านั้น และ บ่อพระขรรค์ เป็นบ่อที่ในสมัยโบราณมีช่างทำพระขรรค์ถวายพระมหากษัตริย์ ได้นำแร่เหล็กน้ำพี้จากบ่อพระขรรค์ไปถลุงทำพระขรรค์ ภายในบริเวณมี พิพิธภัณฑ์บ่อเหล็กน้ำพี้ รวบรวมหลักฐานต่างๆ เกี่ยวกับประวัติเหล็กน้ำพี้ โดยจัดแสดงและจำลองให้เห็นถึงกระบวนการ ขั้นตอนการตีเหล็กน้ำพี้ ตั้งแต่การขุดแร่เหล็กน้ำพี้จนตีเป็นดาบที่มีความแกร่งและความคมเป็นเลิศ ดาบน้ำพี้จึงเป็นอาวุธคู่กายของขุนศึกและนักรบไทยในสมัยโบราณตลอดมา พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เปิดเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2542 เปิดให้เข้าชมฟรีทุกวัน เวลา 08.00 – 17.00 น.
      เหล็กน้ำพี้ในสมัยโบราณ นิยมนำไปตีเป็นพระแสงราชศัสตราของพระเจ้าแผ่นดิน จึงมีความเขื่อว่าเป็นเหล็กศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถแก้อาถรรพณ์ อยู่ยงคงกรพะนและป้องกันภูตผีปีศาจได้เป็นอย่างดี จึงเหมาะสำหรับผุ้ที่ต้องเดินทาไปในถิ่นแปลกที่อยุ่เป็นประจำ และผู้ที่ต้องพักค้งอ้างแรมในสถานที่ต่างๆอยู่เสมอ


น้ำตกแม่พูล
น้ำตกแม่พูล       อยู่ที่หมู่ 4 บ้านต้นเกลือ ตำบลแม่พูล เป็นน้ำตกที่เกิดจากการตกแต่งธารน้ำ โดยการเทปูนให้น้ำไหลลดหลั่นจากบนเขาสูงลงมา ดูคล้ายน้ำตกธรรมชาติ สูงหลายชั้น สภาพโดยรอบร่มรื่น บริเวณใกล้ๆ น้ำตกเป็นสวนลางสาด บริเวณน้ำตกมีร้านจำหน่ายของที่ระลึก ร้านอาหารและที่จอดรถไว้บริการ

การเดินทางจากอำเภอเมืองถึงอำเภอลับแล ระยะทาง 8 กิโลเมตร จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 1043 ประมาณ 12 กิโลเมตร หรือขึ้นรถสองแถวที่ถนนตุลาสถิตย์ ในตัวเมืองรถจะออกทุก 30 นาที ตั้งแต่เวลา 06.00–17.30 น. หรือจะเหมาแท็กซี่ไปก็ได้

เขื่อนสิริกิติ์
       เขื่อนสิริกิติ์ ตั้งอยู่ที่บ้านผาซ่อม ตำบลท่าปลา เขื่อนสิริกิติ์เป็นเขื่อนดินสร้างกั้นแม่น้ำน่านที่ผาซ่อม สันเขื่อนยาว 800 เมตร กว้าง 12 เมตร สูง 113.6 เมตร บริเวณเหนือเขื่อนเป็นทะเลสาบใหญ่ที่มีชื่อว่า ทะเลสาบสุริยันจันทรา มีทิวทัศน์สวยงาม เมื่อไปถึงบริเวณเขื่อน นักท่องเที่ยวควรไปติดต่อที่ศูนย์ประชาสัมพันธ์ ซึ่งให้บริการและอำนวยความสะดวกในด้านการท่องเที่ยวบริเวณเขื่อน การจองที่พัก การเช่าจักรยาน การให้เช่าเรือท่องทะเลสาบเหนือเขื่อน อัตราค่าเช่าเรือล่องในเขื่อนสิริกิติ์คือ เรือขนาด 150 คน ค่าเช่าชั่วโมงละ 1,700 บาท และเรือขนาด 30 คน ค่าเช่าชั่วโมง 1,400
     การเดินทาง
     จากตัวเมืองอุตรดิตถ์ ไปตามทางหลวงหมายเลข 1045 (เขื่อนสิริกิติ์-ท่าปลา) ถึงเขื่อนสิริกิติ์ ระยะทาง 58 กิโลเมตร หรือนั่งรถโดยสารจากกรุงเทพฯ ไปลงที่อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ และต่อรถโดยสารสายอุตรดิตถ์-ฟากท่า-บ้านโคก รถจะจอดที่หอนาฬิกา ถนนสำราญรื่น หรือจะเหมารถแท็กซี่บริเวณสถานีรถไฟอุตรดิตถ์ก็ได้

อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล
        มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน อำเภอห้างฉัตรและอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง สภาพพื้นที่เป็นป่าเขา อุดมสมบูรณ์ด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด มีเนื้อที่ทั้งสิ้นประมาณ ๑๕๙,๕๕๖ ไร่ นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางโดยทางรถไฟลงที่สถานีขุนตาล  เดินเท้าอีกประมาณ ๑.๕ กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานฯ
สำหรับทางรถยนต์เดินทางไปตามเส้นทางลำปาง-ลำพูน (ทางหลวงหมายเลข ๑๑)  กิโลเมตรที่ ๔๗ เข้าไปประมาณ ๑๘ กิโลเมตร

สถานที่น่าสนใจของอุทยานฯ
·  อุโมงค์ขุนตาล  เป็นอุโมงค์ทางรถไฟลอดผ่านที่ยาวที่สุดในประเทศไทย มีความยาว ๑,๓๕๒ เมตร สร้างขึ้นโดยชาวเยอรมันชื่อเอมิล ไอเซนโฮเฟอร์ แต่ยังไม่แล้วเสร็จเพราะในระหว่างการสร้างอุโมงค์เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๑ ทำให้นายเอมิลเดินทางกลับประเทศ  ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๖๐ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระบิดาแห่งการรถไฟ เสด็จมาเป็นแม่งานก่อสร้างจนเสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๖๑

·  บริเวณยอดเขา  จากที่ทำการอุทยานฯ ซึ่งมีที่พักของกรมป่าไม้ตั้งอยู่ เดินเท้าต่อไปประมาณ ๑,๕๐๐ เมตร จะถึง ย. ๑ หรือจุดยุทธศาสตร์ ๑ เป็นที่ตั้งของบ้านพักรับรองของการรถไฟแห่งประเทศไทย จากนั้นเดินเท้าต่อไปอีก ๘๐๐ เมตร จะถึง ย. ๒ บริเวณนี้มีต้นสนเขาขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นและมีบ้านพักรับรองของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ภายในบริเวณปลูกพันธุ์ไม้เมืองหนาวและจัดตกแต่งสถานที่อย่างสวยงาม  หากเดินต่อไปอีกประมาณ ๓,๖๐๐ เมตร จะถึง ย. ๓ เป็นที่ตั้งของบ้านพักมิชชันนารี   จุดสูงสุดของเทือกเขาดอยขุนตาลมีชื่อเรียกว่า ม่อนส่องกล้องหรือ ย. ๔ ระยะทางเดินจาก ย. ๓ ประมาณ ๑ กิโลเมตร

·  น้ำตกแม่กลอง  อยู่ทางทิศใต้ของสถานีขุนตาล ห่างไปประมาณ ๑๐ กิโลเมตร โดยลงรถไฟที่สถานีแม่ตาลน้อย แล้วเดินเท้าไปอีกประมาณ ๓ กิโลเมตร มีน้ำไหลตลอดปี

·  น้ำตกตาดเหมย  อยู่แยกจากเส้นทางด้านซ้ายมือ ระหว่างทางจาก ย. ๒ ไป ย. ๓ โดยต้องเดินลงไปในหุบเขาแม่ยอนหวาย ประมาณ ๓๐๐ เมตร


อุทยานแห่งชาติแม่ปิง
สามารถเดินทางไปตามหลวงหมายเลข 106 (สายลำพูน - ลี้) บริเวณกิโลเมตรที่ 47 แล้วเข้าทางหลวงหมายเลข 1087 (สายลี้ ก้อ) บริเวณกิโลเมตรที่ 20 – 21 ก็ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่ปิง เดิมนั้นเป็นป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่หาด - แม่ก้อ ได้ประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 มีพื้นที่ 1,003 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน และอำเภอสามเงา จังหวัดตาก ที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่ปิง ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลแม่ลาน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ภายในเขตอุทยานแห่งชาติแม่ปิง มีพื้นที่บางส่วนเป็นลำน้ำปิงซึ่งยาวประมาณ 140 กิโลเมตร และสองฝั่งแม่น้ำเป็นเกาะแก่ง หน้าผา หินงอก หินย้อย การเดินทางท่องเที่ยวลำน้ำปิงสามารถเริ่มจากอ่างเก็บน้ำดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้เรือหางยาว แล้วมาต่อแพที่แก่งสร้อย ล่องมาจนถึงเขื่อนภูมิพล อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ในทางกลับกันอาจจะเช่าเรือหรือแพจากเขื่อนภูมิพลล่องขึ้นไปก็ได้

สถานที่น่าสนใจของอุทยานฯ

ถ้ำยางวีเป็นถ้ำหินปูนขนาดใหญ่อยู่ภายในอุทยานฯ มีหินงอกหินย้อยสวยงาม เป็นที่อยู่อาศัยของค้างคาว เม่นและเลียงผา การเดินทางเข้าไปชมต้องใช้ไฟฉายหรือคนถือไฟนำทางเข้าไป ไม่ไกลจากบริเวณถ้ำยางวีจะมีป่าที่มีลักษณะเป็นป่าเต็งรังผสมสนสองใบเรียกว่าป่าพระบาทยางวี มีธรรมชาติและทิวทัศน์ที่สวยงาม เหมาะสำหรับการท่องเที่ยวแบบเดินป่าพักค้างแรม

ทุ่งกิ๊กอยู่ห่างจากที่ทำการประมาณ 15 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นทุ่งหญ้าธรรมชาติกว้างใหญ่ อยู่ทางทิศตะวันออกของอุทยานฯ และที่ราบเนินเขาปกคลุมด้วยทุ่งหญ้าสลับป่าเต็งรัง มีทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงาม เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าจำพวกเก้ง กวาง กระต่าย นก และไก่ป่าชนิดต่างๆ กิจกรรมดูนกเป็นที่นิยมมาก นักท่องเที่ยวสามารถมาตั้งแค้มป์พักพักแรมบริเวณทุ่งกิ๊กได้ ในช่วงประมาณเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม กล้วยไม้ป่ากว่า 20 ชนิด จะบานสะพรั่งสวยงามมาก

น้ำตกก้อหลวงอยู่ห่างจากที่ทำการประมาณ 22 กิโลเมตร และเดินเท้าอีก 500 เมตร เป็นน้ำตกหินปูนที่เกิดจากลำน้ำในห้วยแม่ก้อ ไหลผ่านหินดินดานเทาดำและหินทรายของหน้าผาที่มีความสูงต่างระดับลดหลั่นกันลงมาทั้งหมด 7 ชั้น เนื่องจากบริเวณดังกล่าวเป็นหินปูน จึงทำให้บริเวณน้ำตกมีหินงอกหินย้อยสวยงามตามธรรมชาติ และยังมีแอ่งน้ำขนาดใหญ่สีเขียวใส มีปลาอาศัยอยู่มากมาย

แก่งก้ออยู่ในเขตบ้านก้อจัดสรร หมู่ 4 ตำบลก้อ ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 23 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์ป่า (หน่วยที่ 2) แก่งก้อเป็นเวิ้งน้ำขนาดใหญ่เกิดจากลำห้วยแม่ก้อไหลมาบรรจบแม่น้ำปิง นักท่องเที่ยวสามารถมาพักเรือนแพ นั่งเรือชมทิวทัศน์สองฝั่งแม่น้ำปิงซึ่งมีเขาหินปูนถูกกัดเซาะ เกิดหินงอกหินย้อยอย่างงดงาม ตามเส้นทางยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีก เช่น น้ำตกอุ้มปาด โรงเรียนเรือนแพ ถ้ำช้างร้อง วัดพระธาตุแก่งสร้อย ซึ่งตำนานเล่าว่าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรเมืองสร้อยอายุกว่า 800 ปี มีเจ้าเมืองปกครองสืบต่อกันมาหลายยุคสมัยและมีพญาอุดมเป็นผู้ปกครองเมืองคนสุดท้าย จากนั้นเมืองสร้อยก็จมอยู่ในท้องน้ำ ยังคงมีซากกำแพงเก่าให้เห็นอยู่ ส่วนเจดีย์ชำรุดตามกาลสมัย เส้นทางนี้นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางต่อเพื่อชมบริเวณหน้าเขื่อนภูมิพลได้อีกด้วย

ค่าธรรมเนียมเข้าอุทยานแห่งชาติผาแดง คนไทย ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท ต่างชาติ ผู้ใหญ่ 100 บาท เด็ก 50 บาท

วัดศรีดอนชัย
       ตั้งอยู่ที่ 147 หมู่ที่ 10 บ้านศรีดอนชัย ตำบลบ้านธิ สามารถเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 11 ระหว่างกิโลเมตรที่ 76 – 77 เข้าไป 2 กิโลเมตร วัดนี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางลีลาสูง 59 ศอก เป็นพระพุทธรูปที่สูงและใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ สร้างขึ้นจากศรัทธาของประชาชน ในปี พ.ศ. 2538 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองราชย์เป็นปีที่ 50 และพระองค์ทรงพระราชทานนามว่า พระพุทธเฉลิมสิริราช


แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น