วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2556

วัฒนธรรมไทย



วัฒนธรรม โดยทั่วไปหมายถึง รูปแบบของกิจกรรมมนุษย์และโครงสร้างเชิงสัญลักษณ์ที่ทำให้กิจกรรมนั้นเด่นชัดและมีความสำคัญ วิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นพฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้น ด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน
วัฒนธรรมส่วนหนึ่งสามารถแสดงออกผ่าน ดนตรี วรรณกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม การละครและภาพยนตร์ แม้บางครั้งอาจมีผู้กล่าวว่าวัฒนธรรมคือเรื่องที่ว่าด้วยการบริโภคและสินค้าบริโภค เช่น วัฒนธรรมระดับสูง วัฒนธรรมระดับต่ำ วัฒนธรรมพื้นบ้าน หรือวัฒนธรรมนิยม เป็นต้น แต่นักมานุษยวิทยาโดยทั่วไปมักกล่าวถึงวัฒนธรรมว่า มิได้เป็นเพียงสินค้าบริโภค แต่หมายรวมถึงกระบวนการในการผลิตสินค้าและการให้ความหมายแก่สินค้านั้น ๆ ด้วย ทั้งยังรวมไปถึงความสัมพันธ์ทางสังคมและแนวการปฏิบัติที่ทำให้วัตถุและกระบวนการผลิตหลอมรวมอยู่ด้วยกัน ในสายตาของนักมานุษยวิทยาจึงรวมไปถึงเทคโนโลยี ศิลปะ วิทยาศาสตร์รวมทั้งระบบศีลธรรม

วัฒนธรรมในภูมิภาค

วัฒนธรรมในภูมิภาคต่าง ๆ อาจได้รับอิทธิพลจากการติดต่อกับภูมิภาคอื่น เช่น การเป็นอาณานิคม การค้าขาย การย้ายถิ่นฐาน การสื่อสารมวลชนและศาสนา อีกทั้งระบบความเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศาสนามีบทบาทในวัฒนธรรมในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติมาโดยตลอด   ที่มา : จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี  http://th.wikipedia.org/wiki/วัฒนธรรม )


 วัฒนธรรมไทย หมายถึง วีถีการดำรงชีวิตที่ดีงาม ได้รับการสืบทอดจากอดีตสู่ปัจจุบันเป็นผลผลิตของมนุษย์ที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ทั้งด้านวัตถุ แนวคิดจิตใจ วัฒนธรรมในท้องถิ่นจะเป็นเอกลักษณ์ของสังคมท้องถิ่นนั้นๆ วัฒนธรรมคงอยู่ได้เพราะการเรียนรู้ของมนุษย์ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน และสร้างสรรค์พัฒนาขึ้นใหม่อย่างต่อเนื่อง  วัฒนธรรมไทยที่สำคัญ จนกลายเป็นวัฒนธรรมซึ่งนานาชาติยกย่อง และคนไทยมีความภาคภูมิใจมาจนตราบเท่าทุกวันนี้ ได้แก่ ภาษา การแต่งกาย การละเล่นพื้นเมือง อาหารในแต่ล่ะภาค เป็นต้น


พ่อขุนรามคำแหงมหาราช  


 ภาษาที่ใช้ คือ ภาษาไทย ภาษาไทยเรามีภาษาและตัวอักษรเป็นของตนเองมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดย  พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใช้ใน พ.ศ.1826 และได้มีการแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาเปลี่ยนแปลงมาตามลำดับ เนื่องจากเราได้มีการติดต่อเกี่ยวกับนานาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม จึงได้รับวัฒนธรรมภาษาต่างชาติเข้ามาปะปนใช้อยู่ในภาษาไทย แต่ก็ได้มีการดัดแปลงจนกลายเป็นภาษาไทยในที่สุด ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้

การแต่งกายในสมัยอดีตจนถึงปันจุบัน

การแต่งกาย การแต่งกายของคนไทยมีแบบฉบับ และมีวิวัฒนาการมานานแล้ว โดยจะมีการแต่งกายที่แตกต่างกัน ตามสมัยและโอกาสต่างๆ โดยมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบันนี้คนส่วนใหญ่แต่งกายตามสากลอย่างชาวตะวันตก หรือตามแฟชั่นที่แพร่หลายเข้ามา แต่คนไทยส่วนใหญ่ก็ยังมีจิตใจที่รักในวัฒนธรรมการแต่งกายของไทยแบบดั้งเดิมอยู่ ดังจะเห็นได้จากในงานพิธีกรรมต่างๆ จะมีการรณรงค์ให้ใส่ผ้าไทย หรือชุดไทย หรือรณรงค์ให้ใส่ผ้าไทยในชีวิตประจำวัน ซึ่งนับได้ว่าเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งที่ชาติอื่นให้ความชื่นชม

ในแต่ประเทศจะแยกออกเป็นภาค ซึ่งในประเทศสามารถแยกได้ ดังนี้ คือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ภาคตะวันออก และภาคใต้ ในแต่ล่ะภาคจะที่ทั้งความคล้ายคลึ่งกัน แตกต่างกันตามลักษณะพื้นบ้านของในแต่ล่ะภาค อย่างเช่น                                                                             
                                                           วัฒนธรรมภาคเหนือ



 ภาคเหนือมีลักษณะเป็นเทือกเขา สลับกับที่ ราบ ผู้คนจะกระจายตัวอยู่เป็นกลุ่ม มีวิถีชีวิต และขนบธรรมเนียมเป็นของตนเอง แต่ก็มีการ ติดต่อระหว่างกัน วัฒนธรรมของภาคเหนือหรือ อาจเรียกว่า "กลุ่มวัฒนธรรมล้านนา" ซึ่งเป็น วัฒนธรรมเก่าแก่และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้ง สำเนียงการพูด การขับร้อง ฟ้อนรำ หรือการจัด งานฉลองสถานที่สำคัญที่มีแต่โบราณ เช่น พระธาตุดอยสุเทพ วัดเจดีย์หลวง เป็นต้น
พระธาตุดอยสุเทพ

วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับศาสนา ความเชื่อ
     ความเชื่อเกี่ยวกับการนับถือผี ชาวเหนือหรือที่เรียกกันว่า
"ชาวล้านนา"มีความเชื่อในเรื่องการนับถือผีตั้งแต่เดิม โดย เชื่อว่าสถานที่แทบทุกแห่ง มีผีให้ความคุ้มครองรักษาอยู่ ความเชื่อนี้จึงมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เห็นได้ จากขนบธรรมเนียม ประเพณี และพิธีกรรมต่างๆ ของชาว เหนือ เช่น ผู้เฒ่าผู้แก่ชาวเหนือ (พ่ออุ๊ยแม่อุ๊ย) เมื่อไปวัดฟัง ธรรมก็จะประกอบพิธีเลี้ยงผี คือ จัดหาอาหารคาว-หวานเซ่น สังเวยผีปู่ย่าด้วย




ผีที่มีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของชาวล้านนา เช่น
  • ผีบรรพบุรุษ มีหน้าที่คุ้มครองเครือญาติและครอบครัว
  • ผีอารักษ์ หรือผีเจ้าที่เจ้าทาง มีหน้าที่คุ้มครองบ้านเมืองและชุมชน
  • ผีขุนน้ำ มีหน้าที่ให้น้ำแก่ไร่นา
  • ผีฝาย มีหน้าที่คุ้มครองเมืองฝาย
  • ผีสบน้ำ หรือผีปากน้ำ มีหน้าที่คุ้มครองบริเวณที่แม่น้ำสองสายมาบรรจบกัน
  • ผีวิญญาณประจำข้าว เรียกว่า เจ้าแม่โพสพ
  • ผีวิญญาณประจำแผ่นดิน เรียกว่า เจ้าแม่ธรณี
    ในทุกวันนี้เรื่องในการนับถือผีและประเพณีที่เกี่ยวข้อง มีการเปลี่ยนแปลงและเหลือน้อยลง โดยเฉพาะใน เขตเมือง แต่ในชนบทยังคงมีการปฏิบัติกันอยู่

ลักษณะเด่นชัดในทางสังคมและวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของชุมชนในภาคเหนือ ที่ไม่เหมือนกับภาคอื่นๆ ก็ คือ บรรดาชุมชนหมู่บ้านต่างๆ ที่อยู่ในหุบเขาเดียวกันนั้น จะต้องมี ความสัมพันธ์กันทางสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรมอย่างใกล้ชิด จึง จะอยู่ร่วมกันได้ สิ่งนี้แลเห็นได้จากการร่วมมือกันในการทำให้มีการ ชลประทาน เหมืองฝายขึ้น นั่นก็คือแต่ละชุมชนจะต้องมาร่วมกันทำ ฝายหรือเขื่อนกั้นน้ำ และขุดลอกลำเหมืองเพื่อระบาย น้ำจากฝายที่ กั้นลำน้ำไปเลี้ยงที่นาของแต่ละชุมชน ทั้งนี้เป็นเพราะในแต่ละหุบ เขานั้น ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ลาดลงสู่บริเวณที่เป็นแอ่งตอน กลางที่มีลำน้ำไหลผ่าน ลำน้ำดังกล่าวนี้เกิดจากลำธาร หรือลำน้ำ สาขาที่ไหลลงจากที่สูงทั้งสองข้างหุบเขามาสมทบด้วย จำนวนลำ น้ำเหล่านี้มีจำกัดไม่เพียงพอแก่การเพาะปลูกของผู้คนทั่วไป จึงจำ เป็นต้องทำฝายทดน้ำและขุดเหมืองจากบริเวณลำน้ำหรือธารน้ำนั้น เข้าไปเลี้ยงที่นาและเพื่อการใช้น้ำของ ชุมชน จึงต้องมีการออกแรงร่วมกัน เกิดมีกฎเกณฑ์และแบบแผนในการร่วมแรงกันทำเหมืองฝายมาแต่ โบราณ จึงเป็นกิจกรรมที่กษัตริย์เจ้าเมืองหรือนายบ้าน จะต้องคอยควบคุมดูแลให้มีการร่วมมือกัน และลง โทษผู้ที่ไม่ร่วมมือแต่ทว่าลักน้ำขโมยน้ำจากผู้อื่น จึงเกิดมีกฎหมายโบราณขึ้นที่เรียกว่า "กฎหมายมังราย"เชื่อว่าพญามังรายผู้สร้างแคว้นล้านนาเป็นผู้บัญญัติขึ้น


 ที่อยู่อาศัย วัฒนธรรมประเพณี สภาพดินฟ้าอากาศ มีส่วนกำหนดลักษณะที่อยู่อาศัยของผู้คน บ้านเรือน ในภาคเหนือ นิยมสร้างด้วยวัสดุธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่นสอดคล้องกับวิถีชีวิต ตัวเรือนมีขนาดเล็กใต้ถุน สูง หลังคาทรงจั่ว ประดับยอดหลังคาด้วยไม้แกะสลักไขว้กัน เรียกว่า "กาแล" ชาวเหนือที่มีฐานะดีจะอยู่ เรือนที่ค่อนข้างมีขนาดใหญ่และประณีตมากขึ้น


       กาแล คือ ไม้ประดับยอดจั่วหลังคาของบ้านล้านนาภาคเหนือ
ของเรา มีประวัติและความเป็นมาหลาก หลายอย่าง แต่หากพิจาร ณาในเชิงช่างแล้ว กาแลนี้เป็นตัวกันไม่ ให้ “อีกา” หรือนกทั่วไปมา
เกาะที่กลางจั่ว หน้าบ้าน (กลางปั้นลม) ทำให้นกเหล่านั้นไม่มา ถ่าย
มูลรดหลังคาบ้านให้เป็นคราบน่าเกลียดจะทำความสะอาดก็ยากเย็น ซึ่งชาวบ้านถือว่าเป็นสิ่งอัปมงคล 

วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับประเพณีพื้นเมือง

ประเพณีของภาคเหนือ มีลักษณะเป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิถีการดำรงชีวิต ที่เกิดจากการผสมผสาน ระหว่างพุทธศาสนากับความเชื่อ ในเรื่องการนับถือผี ทำให้มีประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ และลักษณะของ ประเพณีจะแตกต่างกันไปตามฤดูกาล คือ




ช่วงแรก (เดือนเมษายนถึงมิถุนายน) เป็นช่วงการเริ่มต้นปีใหม่หรือ สงกรานต์งานประเพณี จึงเกี่ยวกับการทำบุญ เพื่อความเป็นสิริมงคล ต้อนรับชีวิตใหม่ และอุทิศส่วนบุญกุศลไปให้แก่บรรพบุรุษ มีการเลี้ยง ผีและฟ้อนผี เพื่อขอฝนช่วยให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ภายในไร่นา



ช่วงที่สอง (เดือนมิถุนายนถึงตุลาคม) เป็นช่วงของการเพาะปลูก และเป็นเทศกาลเข้าพรรษา ประเพณีจึงเกี่ยวข้องกับการประกอบ อาชีพและศาสนา


ช่วงที่สาม (เดือนตุลาคมถึงเมษายน) เป็นช่วงของการเก็บเกี่ยวพืช ผลและเทศกาลออกพรรษา ถือว่าเป็นเวลาแห่งการพักผ่อนงาน ประเพณี จึงเป็นงานรื่นเริงและการทำบุญที่เกี่ยวศาสนา



ประเพณีสงกรานต์
    ชาวเหนือมีประเพณีสงกรานต์ที่เหมือนกับชาวไทยภาคอื่น คือ มี การทรงน้ำพระพุทธรูป มีประเพณีขนทรายเข้าวัด ประเพณีรดน้ำ ดำรง ขอพรจากผู้หลักผู้ใหญ่ สิ่งที่เป็นประเพณีท้องถิ่น คือ มีการทำ บุญถวายขันข้าวที่ถวายตุง และไม้ค้ำสะหลีหรือไม้ค้ำโพธิ์ เพื่ออุทิศ ส่วนกุศลให้แก่วิญญาณผีบรรพบุรุษ และเป็นผลบุญสำหรับตนเอง


ประเพณีสืบชะตา
     ชาวล้านนามีความเชื่อว่า การทำพิธีสืบชะตาจะช่วยต่ออายุให้ตน เอง ญาติพี่น้อง และบ้านเมืองให้ยืนยาว ทำให้เกิดความเจริญรุ่งเรือง
และความเป็นสิริมงคล โดยแบ่งการสืบชะตาแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
  1. การสืบชะตาคน นิยมทำกันหลายโอกาส เช่น วันเกิด วันที่
    ได้รับยศตำแหน่ง วันขึ้นบ้านเมือง
  2. การสืบชะตาบ้าน เป็นการสืบชะตาชุมชนหรือหมู่บ้าน เพื่อให้เกิดสิริมงคลปัดเป่าทุกภัยต่างๆ นิยม
    จัดเมื่อผ่านช่วงสงกรานต์ไปแล้ว
  3. การสืบชะตาเมือง เป็นพิธีกรรมที่จัดขึ้นด้วยความเชื่อว่าเทวดาจะช่วยอำนวยความสุขให้บ้านเมือง
    เจริญรุ่งเรือง อุดมสมบูรณ์ ในสมัยโบราณพระเจ้าแผ่นดินเป็นประธานในพิธีสืบชะตาเมือง


ประเพณีปอยน้อย
     เป็นประเพณีบวช หรือการบรรพชาของชาวเหนือจะมีชื่อเรียกต่างกันในบางท้องถิ่น เช่น ปอยน้อย ปอย บวช ปอยลูกแก้ว ปอยส่างลอง นิยมจัดภายในเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม ซึ่งเก็บเกี่ยวพืชผลเสร็จแล้ว ใน พิธีบวชจะมีการจัดงานเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ มีการแห่งลูกแก้วหรือผู้บวชที่จะแต่งตัวอย่างสวยงามแบบ กษัตริย์หรือเจ้าชาย เพราะถือคตินิยมว่าเจ้าชายสิทธัตถะได้เสด็จออกบวชจนตรัสรู้                     


  การแห่นิยมให้ลูกแก้วขี่ม้าหรือขี่ขอคน มีการร้องรำกันอย่างสนุก สนาน ในงานนี้จะทำให้เด็กชายธรรมดากลายเป็น “ลูกแก้ว”หรือ “เด็กมีค่าเหมือนแก้ว” บางท้องถิ่นการบวชลูกแก้วเป็นการเปิด โอกาสให้ผู้ที่ไม่ใช่พ่อแม่หรือเครือญาติร่วมกันเป็นเจ้าภาพด้วย เพื่อ เป็นการแบ่งบุญและช่วยสนับสนุนค่าใช่จ่ายในการจัดงาน เจ้าภาพ จะเรียกว่า "พ่อออก หรือบิดาแห่งการจากไป"จากชีวิตทางโลก ของผู้บวช และผู้บวชจะปฏิบัติตนต่อพ่อออกเหมือนเป็นพ่อแม่จริงๆ พ่อออกและลูกแก้วจึงเกิดความผูกพันกัน กล่าวได้ว่าเป็นการสร้าง ความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างคนในสังคม ปัจจุบันประเพณีบวชลูกแก้วที่มีชื่อเสียงคือ ประเพณีบวชลูกแก้ว ที่จังหวัดแม่ฮองสอน เมื่อข้าวเหนียวสุก แล้วจะนำออกมาจากหวดมาผึ่งบนภาชนะที่เรียกว่า "กั๊ว หรือกระโบม" ซึ่งเป็นภาชนะที่คล้ายรูปกระจาดที่ ทำด้วยไม้ เพื่อให้ข้าวเหนียวไม่แฉะ และบรรจุข้าวเหนียวลงภาชนะจักสานที่เรียกว่า ก่องหรือกระติบ ในภาค อีสาน ทำให้ข้าวเหนียวอุ่นอยู่ได้นานจนถึงเวลารับประทาน

 ประเพณีแห่นางแมว

      การประกอบอาชีพทางเกษตรในสมัยก่อนนั้น  ต้องพึ่งพาสภาพดินฟ้าอากาศ ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติ ถ้าปีไหนฝนดีข้าวกล้าในนาก็เจริญงอกงามดี  หากปีใดฝนแล้ง หรือฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ข้าวกล้าในนา
ก็จะเสียหาย ไม่มีน้ำจะทำนาชาวบ้านไม่มีวิธีการอื่นใดที่จะช่วยได้ จึงพึ่งพาสิ่งเหนือธรรมชาติต่างๆ นาๆ เป็นต้นว่า ทำพิธีขอฝนโดยการแห่นางแมว เชื่อกันว่าหากกระทำเช่นนั้นแล้วจะช่วยให้ฝนตกลงมาได้

พิธีกรรม
     นำชลอมมาตกแต่งให้สวยงาม ใส่แมวไว้ข้างในมัดผูกให้เรียบร้อย หลังใส่คานหามหัวท้ายสองคนแห่ไป รอบๆ หมู่บ้านโดยมีกลองยาวนำขบวน พร้อมกับร้องเพลงแห่นางแมว ผ่านหน้าบ้านใคร เจ้าของบ้านก็จะเอา กระบวยตักน้ำมาสาดรดแมว พร้อมทั้งให้รางวัลแก่พวกแห่ เช่น เหล้า ข้าวปลา หรือของกินอื่นๆ แล้วเคลื่อน ต่อไปเรื่อยๆ จนหมดเขตหมู่บ้าน ก็นำของนั้นมาเลี้ยงกัน กระทำดังนี้จนกว่าฝนจะตกเนื้อร้องเพลงแห่นาง แมว มีดังต่อไปนี้
“นางแมวเอย  ขอฟ้าขอฝน  ขอน้ำมนต์รดแมวข้ามั่ง
ค่าเบี้ยค่าจ้าง  ค่าหาแมวมา  ถ้าไม่ให้กินปลา  ขอให้ปูกัดข้าว
ถ้าไม่ให้กินข้าว  ขอให้ข้าวตาฝอย  ถ้าไม่ให้กินอ้อย  ขอให้อ้อยเป็นแมง
ถ้าไม่ให้กินแตง  ขอให้แตงคอคอด  ถ้าไม่ให้นอนกอด  ขอให้มอดเจาะเรือน
ถ้าไม่ให้นอนเพื่อน  ขอให้เรือนทลาย  แม่ยายหอยเอย  กะพึ่งไข่ลูก
ลูกไม้จะถูก  ลูกไม้จะแพง ฝนตกพรำๆ  มาลำกระแชง
ฝนตกเขาน้อย  มาย้อยชายคา  ฝนตกเขาหลวง  เป็นพวงระย้า
ไอ้เล่  เหล  เล่  ฝนก็เทลงมา  เอ้า  ฝนก็เทลงมา  เอ้า  ฝนก็เทลงมา ๆๆๆๆ”


ที่มา:วัฒนธรรมภาคเหนือ.25/7/2556  http://www.thaigoodview.com/library/contest2553/type1/social03/01/contents/culture_north4.html


























ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น